บางแสน ชลบุรี

เหลียวหลังแลหน้า EEC ที่กำลังคล้อยผ่านปีที่ 5…

เหลียวหลังแลหน้า EEC ที่กำลังคล้อยผ่านปีที่ 5…

1 ธันวาคม ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ) หรือ EEC โดยธัญรัตน์ อินทร รักษาการเลขาธิการ สกพอ. ได้นำคณะผู้บริหาร EEC ร่วมอภิปราย-เสวนา “แผนบูรณาการ EEC สู่การสร้างโอกาสใหม่ในการพัฒนาประเทศ” ซึ่งการเสวนาครั้งนี้เป็นการสื่อสารไปยังผู้เข้าร่วมรับฟังแบบ เหลียวหลัง-แลหน้า ในความเคลื่อนไหวของงานในพื้นที่ EEC เปิดเวทีโดย ประธานที่ปรึกษาพิเศษ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ อดีตเลขาธิการ สกพอ. ตามด้วยคณะผู้บริหารร่วมกันถ่ายทอดภาพรวมการขับเคลื่อนงาน EEC และผลจากการดำเนินงาน รวมทั้งความเคลื่อนไหวที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า


ดร.คณิศ อดีตเลขาฯ สกพอ. ชี้ว่าการขับเคลื่อนงาน EEC ตั้งแต่มีการออกพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกก็ได้จัดทำแผนรวมทั้งหมดและลงหลักปักฐานโครงสร้างพื้นฐานหลักๆ ที่สำคัญ ปัจจุบันกำลังเคลื่อนไปสู่เรื่องของการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และการสร้างประโยชน์โพดผลให้ผู้คนและชุมชนในท้องถิ่น ซึ่งในการลงทุนใน EEC ที่ได้อนุมัติไว้ใน 4 ปีแรกตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2565 นั้น วันนี้ไปเกินเป้า-มีการลงทุนไปแล้ว 1.9 ล้านล้านบาท (จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1.7 ล้านล้านบาท) ซึ่งการลงทุนทั้งหมด-ใช้งบประมาณสำนักงาน สกพอ. ร้อยละ 0.1 งบบูรณาการร้อยละ 5 โดย สกพอ. หาผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลัก 4 โครงการ ได้แก่ รถไฟความเร็วสูง ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุตเฟส 3 และท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 มูลค่ารวมกว่า 6.5 แสนล้านบาท
ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยรวม ได้ออกบัตรส่งเสริมการลงทุน BOI ช่วงปี 2561 ถึง 2565 รวมทั้งสิ้น 1,182,538 ล้านบาท โดยเป็นกลุ่มการลงทุนต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมร้อยละ 34  และเป็นส่วนการลงทุนเพิ่มเติมในอุตสาหกรรมใหม่ร้อยละ 36 ที่เหลือเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นๆ ร้อยละ 30

ทั้งนี้ จะพัฒนา 5 แกนหลักเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม-การลงทุนใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (ตามที่มีสไลด์ฉายประกอบ)
แกนที่ 1 คือ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ที่จะเชื่อมกับอุตสาหกรรมต่างๆให้ยกระดับสมรรถนะการผลิตโดยรวม
แกนที่ 2 คือ สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี จะหนุนอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร-การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีคุณภาพสูง
แกนที่ 3 คือ สมาร์ทโลจิสติกส์ จะสนับสนุนอุตสาหกรรมการบิน โลจิสติกส์ และระบบราง ฯ
แกนที่ 4 คือ 5G สนับสนุนการสื่อสารและอุตสาหกรรมดิจิตอลยุคใหม่
แกนที่ 5 คือ BCG หนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ ฯ ซึ่งโดยภาพรวมมีแนวโน้มที่ดี
อย่างไรก็ดี คิดว่าน่าจะมีข้อผิดพลาด-ที่ไม่ปรากฏแกนสำคัญเรื่อง “การพัฒนาบุคลากรและการศึกษา” แก่นแกนและหลักสำคัญ-เป็นฐานการพัฒนาทั้งอุตสาหกรรมเป้าหมายและเศรษฐกิจสังคมรวมถึงชุมชนโดยรวม เลยตั้งเป็นข้อสังเกตไว้-หากขาดแกนนี้คงไปต่อกันลำบากทั้งอุตสาหกรรมและบ้านเมือง!
ประเด็นการสร้างแผนงานงบบูรณาการ รักษาการเลขาธิการฯ ธัญรัตน์ ได้อภิปรายในประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า จากการเริ่มดำเนินงานปี 2561 ได้เติบโตขยายตัวมีหน่วยงานเข้าร่วมจาก 8 กระทรวง 13 หน่วยงาน เป็น 15 กระทรวง 44 หน่วยงานในปัจจุบัน
โดยงบประมาณที่ได้รับ (ปี 2561 ถึง 2566) รวม 94,514 ล้านบาท นำไปสร้างงานหลายกลุ่ม กลุ่มงานโครงสร้างพื้นฐานและดิจิทัล กลุ่มพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรม กลุ่มการสาธารณสุข การท่องเที่ยว งานพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง EEC รองรับการขยายตัวของเมือง กลุ่มงานชักจูงนักลงทุนต่างประเทศ กลุ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คน

และยังได้ชี้ให้เห็นถึงกุญแจความสำเร็จจากเงื่อนไขหลัก 3 ประการ คือ 
ชัดเจน การทำงานร่วมกับหน่วยรับงบประมาณแบบเชิงรุก สกพอ. ร่วมกำหนดทิศทางเป้าหมายของแผนงานบูรณาการชัดเจน
เชี่ยวชาญ ระดมสรรพกำลังจากหน่วยงานที่เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาสร้างงานร่วมกัน
เชื่อมั่น มีหน่วยงานที่มาทำงานร่วมกันอย่างเชื่อมั่นและร่วมงานกันต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการบริหารงบบูรณาการของ สกพอ. ที่ได้รับการยอมรับและชื่นชมจากสำนักงบประมาณและรัฐบาล
ด้าน พจณี อรรถโรจน์ภิญโญ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านนโยบายและแผน สกพอ. ได้ให้มุมมองนาสนใจในเรื่องการขยับก้าวต่อไปเพื่อพัฒนาเมืองน่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ ซึ่ง สกพอ. พยากรณ์ว่าจะมีผู้อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 2 ล้านคน-เมื่อสนามบินเสร็จจะมีผู้เดินทาง 70 ล้านคน ขนาดของธุรกิจก็จะใหญ่ขึ้น-จากนี้ถึงปี 2570 จะมีเงินลงทุนใหม่ราว 3.7 ล้านล้านบาท-เมื่อถึงปี 2580 จะมีมากกว่า 5 ล้านล้านบาท ต้องสร้างเมืองแห่งอนาคตรองรับตอบโจทย์ความต้องการที่อยู่อาศัยที่ดี มีเทคโนโลยี-สิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นเมือง Zero Carbon มีการจัดการสิ่งแวดล้อมดี
นอกจากนั้น โดยรอบรัศมี 30 กิโลเมตรจากมหานครการบิน จะมีการพัฒนาใหม่หลายพื้นที่ กลุ่มพัฒนาเมืองเดิมจะมีการปรับพัฒนาในหลายพื้นที่ เช่น Smart City – กลุ่มฉะเชิงเทราเมืองน่าอยู่ แสนสุข Smart City ที่บางแสน นครระยอง-เมืองอัจฉริยะและน่าอยู่ ฯลฯ ส่วนกลุ่มเมืองพัฒนาใหม่จะมี EECh ศูนย์สถานีระบบรางที่ศรีราชา EECa เมืองการบินอู่ตะเภาระยอง EECd ดิจิทัลปาร์คชลบุรี EECi วังจันทร์วัลเลย์ระยอง ฯลฯ

ส่วนศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ กำลังออกแบบวางแผนพัฒนาเป็น Smart City ที่ให้สิทธิประโยชน์ มีการจัดการให้มีพื้นที่สีเขียวมากกว่าร้อยละ 30 เป็นเมืองคาร์บอนต่ำ มีความเป็นอัจฉริยะครบทั้ง 7 ด้านตามที่ DEPA วางไว้ 
โดย ศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะนี้ ตั้งอยู่ที่บางละมุงพื้นที่ 15,000 ไร่-เริ่มพัฒนา 5,000 ไร่ อยู่ห่างจากสนามบินอู่ตะเภา 15 กิโล-ห่างพัทยา 10 กิโลเมตร-ห่างจากกรุงเทพฯ 160 กิโลเมตร ใช้เวลาพัฒนาประมาณ 10 ปี 2565-2575 รองรับผู้คนช่วงแรก 350,000 คน สร้างตำแหน่งงาน 2 แสนตำแหน่ง มูลค่าการลงทุน 1.34 ล้านล้านบาท-สัดส่วนการลงทุนภาครัฐร้อยละ 2.8 รัฐร่วมกับเอกชนร้อยละ 9.7 เอกชนร้อยละ 87.5 เป้าหมายคือเป็นศูนย์สำนักงานใหญ่ของธุรกิจในภูมิภาคและศูนย์ราชการ ศูนย์กลางการเงิน ศูนย์กลางการแพทย์แม่นยำ ศูนย์ศึกษาวิจัยพัฒนานานาชาติ ศูนย์ธุรกิจอนาคต รวมทั้งที่อยู่อาศัยฯ
อุทยานนวัตกรรม
ด้านการลงทุน มีความตื่นตัว-รับรู้ ผ่านทั้งรัฐและเอกชน-กลุ่มการลงทุนที่มีฐานเดิมอยู่แล้ว โดย นงนุช เพ็ชรรัตน์ ที่ปรึกษาพิเศษ ด้านการต่างประเทศ สกพอ. ได้กล่าวเสริมว่า ที่ตั้งภูมิศาสตร์-คมนาคม คุณภาพคน คุณภาพเมือง ความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานในหลายอุตสาหกรรม พื้นฐานสาธารณูปโภค และการสนับสนุน-สิทธิประโยชน์ต่างๆ ทำให้ความสนใจลงทุนจากต่างประเทศสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยมี 5 ประเทศที่มีการลงทุนสูงสุดตามลำดับได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ ไต้หวัน สวิตเซอร์แลนด์ ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ และอาหาร ฯลฯ
และในช่วงครึ่งปีแรกของ 2565 ที่ผ่านมาได้อนุมัติการลงทุน 105,535 ล้านบาท เป็นการลงทุนอุตสาหกรรมเดิมร้อยละ 28 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ร้อยละ 49 และอุตสาหกรรมอื่นร้อยละ 23 เป็นความเคลื่อนไหวของการลงทุนที่ผ่านมา

สินค้าชุมชน

ด้านการสร้างความเชื่อมโยงกับพื้นที่-คุณภาพชีวิตของผู้คนและท้องถิ่นใน EEC ธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการสายงานพื้นที่และชุมชน สกพอ. ชี้แจงว่าการขยับงานพื้นที่ช่วงที่ผ่านมามุ่งพัฒนามิติเชิงเศรษฐกิจท้องถิ่น การพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาชุมชน อาทิ ตลาดท่องเที่ยวชุมชน ธุรกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชน และสร้างงานระเบียงเศรษฐกิจเวลเนส-ยกระดับคุณภาพชีวิตปรับปรุงสิ่งแวดล้อมความเป็นอยู่ของท้องถิ่นคู่กับเศรษฐกิจชุมชน โดยระเบียงเศรษฐกิจเวลเนส เปิดพื้นที่นำร่องทั้งหมด 13 ท้องถิ่นได้แก่ บางแสน อ่างศิลา บางพระ ศรีราชา เกาะสีชัง พัทยา บางเสร่ แสมสาร พลูตาหลวง บ้านฉาง พลา ตะพง มีการทำความเข้าใจและพัฒนาพื้นฐานความร่วมมือที่ได้รับการสนับสนุนจากทุกท้องถิ่นที่กล่าวมาอย่างดี เริ่มดำเนินการไปหลายส่วนแล้ว เช่น ร่วมสนับสนุนปรับปรุงท้องถิ่นเทศบาลเมืองศรีราชาเป็นต้น หรือได้เข้าร่วมพัฒนาเมืองพัทยาตามโครงการนีโอ พัทยา ที่มีการปรับปรุงชายหาด การจัดการขยะ รวมถึงการวางแผนปรับสร้างตลาดลานโพธิ์เป็นต้น และยังพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยว 12 ชุมชน-ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนด้วย ฯลฯ ซึ่งสร้างประโยชน์กับผู้คนและท้องถิ่นมากมาย ฯลฯ

และในโอกาสนี้ ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา ที่เข้าร่วมได้อภิปรายเสริมให้เห็นถึงคุณค่าของการพัฒนาความร่วมมือกับ EEC ว่าช่วยสร้างประโยชน์ให้ชุมชนและผู้คนได้มาก เช่นกับผู้แทนจาก อบจ.ระยอง ที่ชี้ถึงประโยชน์ที่ผู้คน ชุมชน ได้รับและมีการการพัฒนาความร่วมมือปรับตัวในทิศทางใหม่จากความร่วมมือกับ สกพอ.ที่เกิดขึ้นในระยองอย่างดี  
ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งจากการอภิปรายในประเด็น “เหลียวหลังแลหน้า” ของ สกพอ. จากการขยับขับเคลื่อนงานในพื้นที่ EEC ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

เรื่อง : Apichartology


การพัฒนาที่เกิดขึ้นในทุกมิติในพื้นที่ EEC

เปิดตัวโปรแกรมหนุนการลงทุนใน ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอีอีซี ล่าสุด พร้อมกำจัดทุกจุดอ่อนเพื่อรับโอกาสหลังวิกฤตโควิดคลี่คลาย

EEC HDC หนุน มจพ.ระยอง ตั้งศูนย์เทคโนโลยีช่างเชื่อมและอุตสาหกรรมเหล็ก แก้ปัญหาบุคลากรสาขาขาดแคลนอย่างตรงจุด

การพัฒนาดีๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการก้าวสู่ปีที่ 3 ของการใช้ แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน อีอีซี

Post Views: 9

เรื่องล่าสุด