บางแสน ชลบุรี

ผอ.สถาบันวิทย์ฯ ม.บูรพา ยันปรากฏการณ์คลื่นสูงกว่าเมตรซัดชายหาดบางแสนไม่ใช่ผลกระทบจากเขื่อนกันคลื่น

ผอ.สถาบันวิทย์ฯ ม.บูรพา ยันปรากฏการณ์คลื่นสูงกว่าเมตรซัดชายหาดบางแสนไม่ใช่ผลกระทบจากเขื่อนกันคลื่น

ผอ.สถาบันวิทย์ฯ ม.บูรพา ยันปรากฏการณ์คลื่นสูงกว่าเมตรซัดชายหาดบางแสนไม่ใช่ผลกระทบจากเขื่อนกันคลื่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ศูนย์ข่าวศรีราชา – ผอ.สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา เชื่อน้ำทะเลหาดบางแสนหนุนสูงทำคลื่นสูงกว่าเมตรซัด ชายฝั่งไม่ใช่ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนกันคลื่น แต่เป็นเพราะอยู่ในช่วงมรสุมจึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวขึ้นได้ ชี้เขื่อนกันคลื่นมีประโยชน์เรื่องการป้องกันชายหาดถูกกันเซาะ เตือนชาวประมงช่วงมรสุมคลื่นแรงก่อนออกเรือตรวจเช็คสภาพอากาศ 

จากกรณีที่โลกออนไลน์ได้พากันแชร์ภาพน้ำทะเลบริเวณชายหาดบางแสนที่เอ่อขึ้นท่วมถนนสายหาดวอนนภาบางแสนเมื่อช่วงคืนวันที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมา และคลื่นลมในทะเลที่แรงจัดยังทำให้เกิดคลื่นสูงกว่า 1 เมตรซัดเข้าสู่ชายฝั่ง และคลื่นบางลูกยังสูงเกือบถึงครึ่งต้นมะพร้าว จนทำให้นักท่องเที่ยวและประชาชนที่พากันนั่งพักผ่อนต้องทยอยเดินทางกลับบ้านเพราะเกรงว่าจะเกิดอันตราย

ขณะที่ชาวประมงในพื้นที่ยืนยันว่าในช่วง 60 ปีที่ผ่านมาไม่เคยพบเห็นปรากฏการณ์เช่นนี้และพากันวิพากวิจารณ์ว่า น่าจะเกิดจากผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นบริเวณชายหาดวอนนภาบางแสน จ.ชลบุรี จนทำให้คลื่นที่วิ่งเข้ากระทบฝั่งมีความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นต้นเหตุให้เกิดน้ำทะเลเปลี่ยนทิศ รวมทั้งยังมีการเตือนไม่ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวขึ้นไปยืนบริเวณริมเขื่อนกันคลื่นเพราะอาจถูกคลื่นซัดตกทะเลนั้น


ล่าสุดในวันนี้ ( 25 มิ.ย.) ดร.บัลลังก์ เนืองแสง ผู้อำนวยการ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ออกมาเปิดเผยถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ไม่น่าจะเกิดจากการสร้างเขื่อนกันคลื่นบริเวณชายหาดบางแสนแต่เกิดจากผลกระทบของมรสุมที่ทำให้เกิดคลื่นลมแรง

“ ในเรื่องของปรากฏการณ์คลื่นสูงพัดเข้าสู่ชายหาดบางแสนนั้น ในส่วนตัวแล้วมองว่าไม่ใช่เกิดจากการสร้างเขื่อนกันคลื่น เพราะแนวเขื่อนกันคลื่นมีประโยชน์ในเรื่องของการป้องกันไม่ให้น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง เพราะหากไม่ชายหาดบางแสน ไม่มีการจัดทำเขื่อนกันคลื่นก็จะทำให้พื้นที่ชายหาดถูกกัดเซาะไปเรื่อยๆ ผลที่ตามมาคือทั้งโรงแรม และบ้านเรือนประชาชนที่อยู่บริเวณชายฝั่งก็อาจจะเกิดความเสียหายได้ ซึ่งการสร้างเขื่อนกันคลื่นคือวิธีการแก้ไขปัญหาชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะได้ดีที่สุด และยังทำให้คลื่นทะเลที่พัดเข้าสู่ชายฝั่งลดความรุนแรงลง”

โดยเชื่อว่าปรากฏการณ์น้ำทะเลหนุนสูง และสถานการณ์ คลื่นลมแรงบริเวณชายหาดบางแสนจะเกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ที่มีมรสุมเท่านั้น พร้อมฝากเตือนชาวประมงที่อยู่บริเวณชายฝั่งให้ติดตามการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และไม่ควรนำเรือออกจากฝั่งในช่วงพายุฝนและลมแรง

เรื่องล่าสุด