บางแสน ชลบุรี

logoline

ทะเลสีเขียวบางแสน ปลาตายครั้งใหญ่สุด ภัยคุมคามรุนแรงที่เราทำอะไรได้บ้าง?

เกาะติดข่าวสาร>> คมชัดลึก ออนไลน์

logoline

แพลงก์ตอนบลูม หรือทะเลสีเขียว บางแสนชลบุรี ปลาตายครั้งใหญ่สุด กลายเป็นภัยคุกคามรุนแรงของชายฝั่งแถบนี้ ผู้เชี่ยวชาญทางทะเลตั้งคำถาม “เราทำอะไรได้บ้าง” ถึงเวลายกระดับการรับมือ

“ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์” ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศทางทะเลแถวหน้าของประเทศไทย (ดร.ธรณ์) ออกมาอธิบายเหตุการณ์แพลงก์ตอนบลูม (ทะเลสีเขียว) วันที่ 10 ก.ย. 2566 ว่า ทะเลสีเขียวทำให้ปลาตายครั้งใหญ่ที่บางแสน โดยใช้ผลสำรวจล่าสุดของคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปลานานาชนิดตายจากแพลงก์ตอนบลูม เรื่องนี้คงเป็นที่ทราบกันแล้ว

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

ภาพจากเฟซบุ๊ก ดร.ธรณ์

ทะเลสีเขียว เกิดนอกชายฝั่ง มวลน้ำที่เต็มไปด้วยแพลงก์ตอนพืชเคลื่อนที่ไปตามคลื่นลม ลมฤดูนี้พัดเข้าฝั่งบางแสนศรีราชา แต่จะมีจังหวะลมแรง/ลมนิ่ง ยังเกี่ยงข้องกับกระแสน้ำชายฝั่งที่ขึ้นกับน้ำขึ้น/น้ำลง

ภาพประกอบ

หาดวอนนภา บางแสน

“ดร.ธรณ์” อธิบายภาพด้านบนนี้ว่า มันคือ ชายฝั่งวอนนภา/บางแสน จุดที่มีน้ำเขียวปลาตายเมื่อ 2-3 วันก่อน จะเห็นว่าริ้วน้ำถูกพัดไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป๊ะๆ ตามตำรา

“ดร.ธรณ์” เล่าต่อว่า หาดบางแสนถึงวอนนภา ยื่นออกมาจากชายฝั่ง จึงกลายเป็นเขตรับมวลน้ำเขียวจากทะเล รวมถึงปลาตายที่ลอยมาตามกระแสน้ำ/คลื่นลม

มวลน้ำทะเลสีเขียวยังไหลเข้าสู่แพเพาะเลี้ยงริมชายฝั่ง หากอยู่ขอบนอกก็เจอเยอะหน่อย 

ทะเลสีเขียวไม่เป็นพิษ แต่เมื่อมีเยอะมากๆ จะทำให้แสงส่องลงไปในน้ำได้น้อยมาก แพลงก์ตอนพืชในน้ำชั้นล่างจึงตายพร้อมกัน เกิดการย่อยสลายที่ใช้ออกซิเจน ทำให้ออกซิเจนในมวลน้ำชั้นกลาง/ใกล้พื้นทะเลลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว

หาดบางแสน จ.ชลบุรี

ออกซิเจนในน้ำจะต่ำลง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ บางหนถึงขั้นไม่รอดปัจจัยว่า น้ำเขียวเข้าที่ไหน จึงเกี่ยวข้องกับทิศทางของน้ำ (คลื่นลม/กระแสน้ำ/น้ำขึ้นน้ำลง) และลักษณะชายฝั่ง หากลมเปลี่ยนทิศนิดเดียว หรือกระแสน้ำชายฝั่งเปลี่ยนแปลง จุดน้ำเขียวปลาตายก็อาจเขยิบไป 

แต่ช่วงนี้ยังไงก็วนเวียนอยู่แถว บางแสน/บางพระ/ศรีราชา เมื่อลมเบาลง มวลน้ำเขียวก็อาจไม่ลอยเข้าไป อีกทั้งแพลงก์ตอนไม่ได้บลูมต่อเนื่อง จะมาเป็นช่วงๆ จึงมีเวลาให้ชายฝั่งพักหายใจบ้าง

ชายหาดบางแสน จ.ชลบุรี

ตอนนี้ความถี่ในการบลูมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เวลาพักเบรคจึงมีน้อยลง วันนี้พรุ่งนี้ลมแถวนั้นก็เริ่มแรงขึ้น ทิศทางคล้ายเดิม ชายฝั่งอาจเจอน้ำทะเลสีเขียวระลอกใหม่ 

“ดร.ธรณ์” เล่าต่อว่า สถานการณ์ทะเลสีเขียวเป็นเช่นนี้ไปจนถึงสิ้นเดือน ต.ค. จากนั้นจะถึงช่วงบางแสนน้ำใส พักปิดเทอมกันยาวๆ จนถึงหน้าฝนปีหน้า แล้วเราทำอะไรได้บ้างล่ะ?

ทะเลสีเขียวที่ถี่ขึ้น กลายเป็นภัยคุกคามรุนแรงของชายฝั่งแถบนี้ หากคิดจะสู้ เราต้องยกระดับการรับมือ

ภาพที่นำมาให้ดู คือ หนึ่งการทดลองการยกระดับของคณะประมง ใช้เทคโนโลยีและการสำรวจร่วมกันหลายรูปแบบ เพื่อเข้าใจและเตือนภัยล่วงหน้า แต่จะไปต่อได้แค่ไหน ก็ต้องรอดูความจริงจังในการสนับสนุนช่วยกันของทุกฝ่าย เหมือนกับที่เคยบอกซ้ำแล้วซ้ำเล่า

เรื่องล่าสุด