บางแสน ชลบุรี

319848_th.jpg

โรงพยาบาลสระบุรีใช้ Platform Social tele care ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองในมิติสุขภาพและคุณภาพชีวิต

กทม-สาธารณสุข

โรงพยาบาลสระบุรีใช้ Platform Social tele care ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองในมิติสุขภาพและคุณภาพชีวิต

วันจันทร์ ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566, 11.25 น.

ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

โรงพยาบาลสระบุรีร่วมกับคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ให้เป็นหนึ่งใน 12 พื้นที่ sandbox กลุ่มเป้าหมายที่ทำงานคือผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง 

วันที่ 12 มีนาคม  2566 นายแพทย์วิเชียร ระดมสุทธิศาล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโรงพยาบาลสระบุรีกล่าวถึงการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองว่าส่วนใหญ่เมื่อเสร็จสิ้นระยะการรักษาแล้วแต่ยังต้องฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อให้ ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเอง  เคลื่อนไหวได้  ทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติ หรือเต็มตามความสามารถ ซึ่งจำเป็นต้องมีนักกายภาพบำบัดนักสังคมสงเคราะห์ติดตามฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย จิตใจ  สังคม โดยเฉพาะการ เสริมความรู้ความเข้าใจ ปรับความคิด และทัศนคติของผู้ป่วยและญาติ เพื่อสนับสนุนให้กลับมาใช้ชีวิตได้ปกติโดยเร็วที่สุด 


  
นางสาวเนียนนิภา  บุญอ้วน หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลสระบุรีกล่าวว่าเมื่อนำPlatform  Social telecare มาใช้ ทำให้การบันทึกข้อมูลผู้ป่วยทำได้รวดเร็วขึ้นบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพทราบจำนวนของผู้ป่วยที่ต้องทำงานด้วยและส่งต่อข้อมูลให้ทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเครื่องมือที่หลากหลายทำให้ประเมินได้ทั้งสภาพความพร้อมด้านครอบครัวด้านสุขภาพจิตและปัญหาความต้องการของผู้ป่วยที่เรียกว่าจัดการรายกรณี  


 
นางสุภาภรณ์ เทพพานิช นักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลสระบุรีกล่าวว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีภาวะแทรกซ้อนและมีปัญหาหลายมิติทั้งด้านจิตใจด้านสังคมด้านร่างกายการมีข้อมูลในหลายมิติในระบบ platform Social telecare ทำให้มีการทำงานร่วมกันด้วยข้อมูลที่ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางได้ อย่างแท้จริงอีกด้านหนึ่ง

นางอังคณา แสนสุข นักจิตวิทยาคลินิกชำนาญการ ระบุว่า การจัดเก็บข้อมูล ในมิติของสุขภาพจิตควรใช้ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานกับผู้ป่วยหรือได้รับการอบรมเป็นการเฉพาะ เพื่อจัดเก็บข้อมูลได้ถูกต้องแม่นยำ  

ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

เรื่องล่าสุด