Site icon บางแสน

TIPMSE ระดมความเห็นเอกชนถกร่างกฎหมาย EPR คาดเริ่มใช้ปี’ 70

E0B882E0B989E0B8ADE0B884E0B8A7E0B8B2E0B8A1E0B983E0B899E0B8A2E0B988E0B8ADE0B8ABE0B899E0B989E0B8B2E0B882E0B8ADE0B887E0B884E0B8B8E0B893-54-1-728x546.jpg

TIPMSE จัดเวทีสัมมนาถกภาครัฐ-เอกชน เจาะลึกร่าง พ.ร.บ.กฎหมาย EPR กลไกขยายความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิต คาดเริ่มใช้ปี 2570

วันที่ 17 สิงหาคม 2566 นายธงชัย ศิริธร รองประธานสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) กล่าวในเวทีสัมมนาผู้ประกอบการแบรนด์สินค้ากับการเตรียมตัวสู่ EPR ว่า งานสัมมนาในครั้งนี้มีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเตรียมความพร้อมของผู้ผลิต ผู้ประกอบการในการนำหลักการ EPR (Extended Producer Responsibility)มาสู่การปฏิบัติทั้งภาคสมัครใจและรองรับกฎหมาย EPR

  • กรมอุตุฯอัพเดตล่าสุด พายุไต้ฝุ่น “แลง”-เตือน 42 จังหวัดฝนตกหนักมาก
  • แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท นโยบาย “เพื่อไทย” ใครเข้าข่ายได้รับบ้าง ?
  • ตรวจหวย-ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ผลการออกรางวัล งวด 16 ส.ค. 66

“กฎหมาย EPR จะเป็นกลไกในการขยายความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตให้ครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต ไปจนถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วให้ถูกต้องตามหลักการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเตรียมบังคับใช้ในปี 2570”

ทั้งนี้ในงานเสวนาตัวแทนจากภาครัฐและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงร่วมรับฟังมุมมองของภาคเอกชน เพื่อนำเสนอบรรจุในเนื้อหาร่างกฎหมาย EPR  เพื่อการเตรียมความพร้อม  นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย

ด้านนางสาวพรรรัตน์ เพชรภักดี รองผู้อำนวยการใหญ่และรักษาการผู้อำนวยการ TIPMSE กล่าวว่า EPR เป็นเครื่องมือ ที่มุ่งส่งเสริมการจัดระบบเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วเพื่อนำไปรีไซเคิลสอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน

ที่ผ่านมา TIPMSE ซึ่งเป็นองค์กรหลักของภาคเอกชนได้เริ่มนำร่องทำโครงการ EPR ภาคสมัครใจภายใต้โครงการ PackBack เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืนขึ้นในจังหวัดชลบุรี 3 พื้นที่ ได้แก่ เทศบาลเมืองแสนสุข เทศบาลเมืองบ้านบึง และเทศบาลตำบลเกาะสีชัง

โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ทั้งภาคชุมชน ซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่า ผู้จัดเก็บรวบรวมรายกลางและรายใหญ่ เพื่อพัฒนาต้นแบบ EPR ของประเทศไทย รวมถึงถอดบทเรียน และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการจัดทำร่างกฎหมายเพื่อขยายผลไปใช้ในพื้นที่อื่นต่อไป

ส่วนนายปเนต มโนมัยวิบูลย์ หัวหน้าศูนย์วิจัยระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อประเทศไทยปลอดขยะ (CEWT) สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า ร่างกฎหมายต่อการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนตามหลักการ EPR หรือที่จะมีการเรียกว่า ร่าง พ.ร.บ.จัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนฉบับนี้ จะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2568 และจะนำเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายของรัฐสภา ซึ่งตามกำหนดการช่วงเวลาที่วางไว้ น่าจะมีผลบังคับใช้ประมาณปี 2570

นายเลิศฤทธิ์ เลิศวัฒนวัลลี บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทของเรามีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนการจัดการขยะและบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว  ดังนั้นการนำหลักการ EPR มาใช้ในภาคบังคับ นับเป็นสิ่งที่ท้าทาย เพราะเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันทั้ง ซัพพลายเออร์ (Supplier) และ เจ้าของแบรนด์(Brand Owner) ซึ่งแบรนด์ต่างๆ พร้อมให้การสนับสนุน ในส่วนของผู้บริโภค จะต้องมีการให้ความรู้และเข้าใจในเรื่องรีไซเคิลมากขึ้น

  • ภาคธุรกิจเตรียมรับกฎหมายใหม่ EPR บังคับทำแผนกำจัดขยะพลาสติก
Exit mobile version