Site icon บางแสน

Food waste : จัดการอย่างไม่เข้าใจ ปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้ไข

Food waste : จัดการอย่างไม่เข้าใจ   ปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้ไข

Food waste หรือ ขยะจากอาหาร เป็นประเด็นปัญหาทั้งทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เพราะเป็นปัญหาที่สร้างความสูญเสียที่เกิดขึ้นทุกวัน ทุกนาทีจากทุกครั้งของการบริโภค ที่ได้ส่งผลกระทบด้านต่างๆมากมาย

รายงาน Food Waste Index Report ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Programme: UNEP) ระบุว่า ของเสียและขยะจากอาหารในแต่ละประเทศเป็นปัญหาใหญ่เพราะเป็นต้นเหตุลำดับที่ 3 ที่สร้างก๊าซเรือนกระจกของโลก ทำให้ขยะอาหารเป็นภาระของทุกคนที่ต้องได้รับการจัดการเพื่อลดความรุนแรงของปัญหานี้ รวมถึงช่วยลดปัญหาความไม่คงด้านอาหารได้ด้วย ขณะเดียวก็ลดก่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้อีกด้วย  

“ท่ามกลางความสูญเสียที่ว่านี้ ก็มีปัจจัยจากภัยธรรมชาติและการสูญเสียความหลากหลายด้านชีวภาพ การสร้างมลภาวะ ซึ่งทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากปัญหาขยะจากอาหาร  ดังนั้นตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDG ของสหประชาชาติ (UN) จึงกำหนดเรื่องอาหารขยะไว้เป็นหนึ่งให้ประเด็นที่ต้องบรรลุเป้าหมายด้วยโดยกำหนดให้ลดขยะอาหารลงครึ่งหนึ่งและลดการสูญเสียอาหารให้ได้ภายในปี 2573”

หากถามว่า ขยะจากอาหารคืออะไร และมาจากไหน แม้ยังไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนแต่สามารถอนุมานได้ว่า เศษอาหารจากการกินเหลือ เศษอาหารจากการตัดส่วนพืชผักที่ไม่ต้องการ หรือแม้แต่การปล่อยให้อาหารนั้นๆเน่าเสียหรือหมดอายุรับประทานไป 

ทั้งนี้ รายงานได้ประมาณการขยะอาหารจากครัวเรือน ค้าปลีก และอุตสาหกรรมบริการด้านอาหาร ซึ่งพบว่าในแต่ละปีมีมากถึง 931 ล้านตัน และเกือบ 570 ล้านตัน เป็นขยะอาหารจากภาคครัวเรือน โดยรายงานนี้ชี้ว่า เฉลี่ย 74 กิโลกรัม(กก.)ของขยะอาหารแต่ละปีมาจากกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางล่างและบน 

หากจำแนกแหล่งที่มาขยะจากอาหารจะพบว่า เศษอาหารประมาณ 931 ล้านตัน นั้นพบว่า สัดส่วน 61% มีที่มาจากครัวเรือน  26 % จากบริการอาหาร และ13 % จากการขายปลีก

ประเทศต่างๆได้กำหนดแนวทางจัดการขยะจากอาหารไว้ในรูปแบบต่างๆ เช่น ฝรั่งเศส ออกกฎหมายว่าด้วยการต่อต้าน

ขยะอาหาร ,สหรัฐ เน้นมาตรการสร้างแรงจูงใจในการลดขยะอาหารมากกว่าการลงโทษ และเกาหลีใต้ ให้ความสำคัญกับการลด ปริมาณขยะอาหารในภาคครัวเรือนด้วยเทคโนโลยี

สำหรับประเทศไทย “กรุงเทพธุรกิจ” ได้ลงพื้นที่สำรวจและสัมภาษณ์เจ้าของร้านอาหารรายหนึ่งที่ไม่ขอเปิดเผยชื่อ ได้รับข้อมูลว่าการจัดการอาหารที่เป็นขยะนั้นยังไม่มีมาตราการหรือกฎหมายที่ออกมาอย่างชัดเจนในการจัดการขยะจากเศษอาหารเหล่านี้ทำให้ร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพในห้างสรรพสินค้าย่านสายไหมแห่งหนึ่งต้องใช้วิธีการจัดการก่อนอาหารหมดอายุด้วยการลดราคาถึง50%เพื่อกระตุ้นการขายสำหรับสินค้าที่ใกล้จะหมดอายุ อย่างไรก็ตามหากยังขายไม่ได้จะให้พนักงานนำกลับไปรับประทานที่บ้านส่วนขยะที่เหลือจะมีการแยกเศษอาหาร กับขยะพลาสติกออกจากกันก่อนทำการทิ้ง

Food waste : จัดการอย่างไม่เข้าใจ   ปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้ไข

ขณะที่เจ้าของร้านอาหารตามสั่งที่จังหวัดกาญจนบุรี เล่าถึงวิธีการจัดการอาหารเพื่อไม่ให้เกิด หรือลดจำนวนอาหารขยะว่า ได้นำเศษอาหารที่เหลือทิ้งในแต่ละวันเทรวมกันและนำไปให้สุนัขจรจัดในบริเวณร้าน

ด้านร้านยำแห่งหนึ่งย่านบางแสน เล่าว่าใช้วิธีการนำเศษอาหารใส่ถุงพร้อมแยกขยะ ก่อนนำไปทิ้งลงในถังขยะเช่นเดียวกับร้านอาหารแผงลอยริมฟุตบาทในกรุงเทพมหานครใช้วิธีจัดการขยะเศษอาหารด้วยการเทรวมกันไว้ในถุงดำแล้วทิ้งในถังขยะ แต่ยอมรับว่าในบางครั้งในวันที่ถังขยะเต็มก็จะเกิดปัญหาขยะล้น

“บางวันก็ขยะล้นและบางถุงก็ไม่ได้มีการผูกมัดทำให้หนูตามท่อระบายน้ำออกมากินและมีการคุ้ยถังขยะซึ่งส่งผลต่อความสะอาดและสุขอนามัยในบริเวณนั้นก่อให้เกิดแหล่งสะสมเชื่อโรคและแบคทีเรียและส่งผลต่อคนที่พักอาศัยในย่านนั้นๆ ที่ต้องรอรถกำจัดขยะมาเก็บและทำความสะอาดต่อไป”

ข้อมูลจากรายงานเผยว่า ครัวเรือนไทยสร้างขยะจากอาหารเฉลี่ยคนละ 79 กก.ต่อปี และเมื่อคำนวนกับจำนวนประชากรจะพบว่าไทยสร้างขยะจากอาหารสูงถึง ปีละ 5.4ล้านตัน ขณะที่อินโดนีเซียแม้จะมีสัดส่วนการสร้างขยะจากอาหารน้อยว่าไทยคือ คนละ 77 กก.ต่อปี แต่จำนวนประชากรที่มากกว่าทำให้อินโดนีเซียสร้างขยะจากอหารถึงปีละ 20.9 ล้านตันต่อปี  สอดคล้องข้อมูลจากกรมประชาสัมพันธ์และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่า  คนไทย 1 คนสร้างขยะอาหารสูงถึง 254 กิโลกรมต่อปี (คำนวนจากที่มาแหล่งขยะอาหารทุกภาคส่วน)  ซึ่งมีการนำขยะอาหารไปใช้ประโยชน์น้อยมาก เนื่องจากเทศบาลส่วนมากไม่มีการแยกขยะ และในส่วนของกทม. สามารถรีไซเคิลขยะอาหารได้เพียง 2 % เท่านั้น

ทั้งนี้  สหประชาชาติได้ประเมินว่าปัญหาขยะจากอาหารยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนรวมถึงแนวทางการจัดการที่ชัดเจนเช่นกัน  แต่การกำหนดเป้าหมายดังกล่าวให้เป็นภาระร่วมกันของทุกคนกำลังนำไปสู่แนวทางการหาหนทางลดปริมาณขยะจากอาหาร ซึ่งพบว่าในประเทศร่ำรวยตั้งแต่ระดับกลุ่มรายได้ปานกลางระดับล่างถึงบนมีสัดส่วนการผลิตอาหารจากขยะสูงเมื่อเทียบกับประเทศยากจน ขณะเดียวกันแผนการใช้ประโยชน์ในด้านชีวภาพจากขยะประเภทนี้ก็ยังมีอยู่น้อยและขาดการเชื่อมโยงกับระดับชน ทำให้ปัญหาขยะจากอาหารเพิ่มขึ้นขณะเดียวกันจำนวนผู้ประสบภาวะอดอยากทั่วโลกก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

Exit mobile version