บางแสน ชลบุรี

023830-004-01_0002.jpg

24 ผลงานคว้ารางวัลศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 37 ภายใต้​หัวข้อ “ลมหายใจเดียวกัน” | เดลินิวส์

นับเป็นโครงการส่งเสริมงานศิลปะที่จัดมายาวนานต่อเนื่องเป็นปี 37 สำหรับโครงการประกวดศิลปกรรม ปตท. โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดการประกวดศิลปกรรม เพื่อเป็นเวทีให้เยาวชนและศิลปินหน้าใหม่ รวมถึงกลุ่มคนรักศิลปะ ได้รังสรรค์ผลงาน พิสูจน์ทักษะและความสามารถผ่านผลงานศิลปะทุกประเภท ทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และทัศนศิลป์

ล่าสุดบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 37 ประจำปี 2565 ซึ่งตัดสินจากเยาวชนและศิลปินกว่า 911 คน มีผลงานเข้าร่วมประกวด 968 ชิ้น โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “ลมหายใจเดียวกัน” สำหรับการมอบรางวัลปีนี้ มีรางวัลรวมทั้งสิ้น 24 รางวัล แบ่งเป็นชิ้นงานชนะการประกวดประเภทยอดเยี่ยม 4 รางวัล และดีเด่น 20 รางวัล โดยชิ้นงานที่ได้รับรางวัลทั้งหมดจะจัดแสดงที่หอศิลป์ ณ บ้านเจ้าพระยา กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 31 มกราคม 2566

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. เป็นบริษัทที่ดูแลความมั่นคงทางด้านพลังงาน และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเรามุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนทุกชีวิต โดยให้ความสำคัญกับการดูแลผู้คน สังคม ชุมชน และประเทศชาติ ซึ่งโครงการประกวดศิลปกรรม ปตท. เป็นหนึ่งตัวอย่างของความตั้งใจในการส่งเสริมวงการศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทย ที่เราดำเนินงานต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน ในปัจจุบันโลกของเราเปลี่ยนแปลงและเติบโตไปอย่างมาก ปตท. เชื่อว่าศิลปะคือหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า การนำศิลปะและความคิดสร้างสรรค์มากำหนดนโยบายแผนงานต่างๆ จะช่วยให้ประเทศไทยก้าวทันตามยุคสมัย และเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีสีสันที่สามารถเติมพลังใจให้กับคนในประเทศ

สำหรับรางวัลทั้ง 24 รางวัลประกอบด้วย

  • รางวัลยอดเยี่ยม ระดับประชาชนทั่วไป นายวีระยุทธ ใจว่อง

ผลงานชื่อ “ลมหายใจในชุมชนชาวประมง”

  • รางวัลดีเด่น ระดับประชาชนทั่วไป นายคเณศ แสนศรีลา

ผลงานชื่อ “ชีวิตสัมพันธ์ หมายเลข 1”

  • รางวัลดีเด่น ระดับประชาชนทั่วไป นางสาวธนธร สรรพกิจจำนง

ผลงานชื่อTogether”

  • รางวัลดีเด่น ระดับประชาชนทั่วไป นายวชิระ ก้อนทอง

ผลงานชื่อ “สัมพันธภาพแห่งชีวิต”

  • รางวัลดีเด่น ระดับประชาชนทั่วไป นางสาววิภาพร นิลุบล

ผลงานชื่อ “ลมหายใจของแม่”

  • รางวัลดีเด่น ระดับประชาชนทั่วไป นายสุรพันธ์ ขวัญแสนสุข

ผลงานชื่อ “นารีผล”

  • รางวัลยอดเยี่ยม ระดับอายุต่่ากว่า 9 ปี เด็กชายน้อมน าคุณ บุญขำ

ผลงานชื่อ “สงครามโรค/โลก”

  • รางวัลดีเด่น ระดับอายุต่่ากว่า 9 ปี เด็กหญิงเบลลิตา วิเชียรเลิศ

ผลงานชื่อ “มุมมองชีวิต”

  • รางวัลดีเด่น ระดับอายุต่่ากว่า 9 ปี เด็กหญิงพราวตะวัน เสาะสืบงาม

ผลงานชื่อ “ช่วงเวลาแห่งความสุข หมายเลข 2”

  • รางวัลดีเด่น ระดับอายุต่่ากว่า 9 ปี เด็กหญิงพุดหอม แสงขำ

ผลงานชื่อ “หนูและแม่ หมายเลข 2”

  • รางวัลดีเด่น ระดับอายุต่่ากว่า 9 ปี เด็กชายวชิรวิชญ์ บุญสวัสดิ์

ผลงานชื่อ “แบ่งปันอาหารให้ลูกสุนัขจรจัด”

  • รางวัลดีเด่น ระดับอายุต่่ากว่า 9 ปี เด็กชายวริทธิ์นันท์ สิงหเสนี

ผลงานชื่อ “ลมหายใจเดียวกันของหนูกับแม่”

  • รางวัลยอดเยี่ยม ระดับอายุ 9 – 13 ปี เด็กหญิงปลื้มกมล ทองคำ

ผลงานชื่อ “หมอและคนไข้ ร่วมแรงส่งกำลังใจ เพื่อเราคนไทยลมหายใจเดียวกัน”

  • รางวัลดีเด่น ระดับอายุ 9 – 13 ปี เด็กหญิงกวินทรา สะอิ้งทอง

ผลงานชื่อ “สังคมยุคใหม่ลมหายใจเดียวกัน”

  • รางวัลดีเด่น ระดับอายุ 9 – 13 ปี เด็กชายคฤณน์ รัตนรัตน์

ผลงานชื่อ “ดอกไม้แห่งความหวัง”

  • รางวัลดีเด่น ระดับอายุ 9 – 13 ปี เด็กชายไชยวัฒณ์ อัศวสุคนธ์

ผลงานชื่อ “ลมหายใจเดียวกัน”

  • รางวัลดีเด่น ระดับอายุ 9 – 13 ปี เด็กชายณัฐพล แพงคำ

ผลงานชื่อ “โลกใบเดียวกัน”

  • รางวัลดีเด่น ระดับอายุ 9 – 13 ปี เด็กหญิงปุญจิรภา กองเงิน

ผลงานชื่อ “ทำบุญร่วมชาติ งานปอยหลวง งานบุญใหญ่ของชาวล้านนา”

  • รางวัลยอดเยี่ยม ระดับอายุ 14 – 18 ปี นางสาวนารา วิบูลย์สันติพงศ์

ผลงานชื่อ “ดำเนินชีวิต”

  • รางวัลดีเด่น ระดับอายุ 14 – 18 ปี นางสาวณัฏฐฐ์ชยธร ตรึงธวัชชัย

ผลงานชื่อ “ชีวิตทุกคนต้องเดินต่อ”

  • รางวัลดีเด่น ระดับอายุ 14 – 18 ปี นายธีรศักดิ์ สุวรรณโณ

ผลงานชื่อ “ลมหายใจเดียวกัน”

  • รางวัลดีเด่น ระดับอายุ 14 – 18 ปี นางสาวศศิญา นิลวานิช

ผลงานชื่อ “เราจะก้าวไปด้วยกัน”

  • รางวัลดีเด่น ระดับอายุ 14 – 18 ปี นางสาวศิริกุลวดี ประเสริฐวิทย์

ผลงานชื่อ “ลมหายใจจากเทพธิดา”

  • รางวัลดีเด่น ระดับอายุ 14 – 18 ปี เด็กหญิงอรชพร จงสุข

ผลงานชื่อ “อยู่รอด ปลอดภัย ด้วยน้ำใจของทุกคน”

ทั้งนี้ ปตท. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มจัดการประกวดศิลปกรรม ปตท. มาตั้งแต่ปี 2529 นับเป็นความร่วมมือกันมาอย่างยาวนานกว่า 37 ปี โดยในแต่ละปี ปตท. จะกำหนดหัวข้อการประกวดที่สะท้อนถึงภาพรวมของสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม รวมถึงบริบทสำคัญที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น กระทั่งปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมประกวดโครงการนี้กว่า 27,700 คน และ ปตท. ได้ มอบรางวัลไปแล้ว 840 รางวัล ถือเป็นเวทีที่สร้างคนในวงการศิลปะ สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศ และสร้างคุณค่าต่อวงการศิลปะไทยอย่างแท้จริง

เรื่องล่าสุด