จากที่นักท่องเที่ยวโพสต์ในโลกออนไลน์ ตกใจกับ ปลาเกยตื้นตายเกลื่อนชายหาดบางแสน ระยะทางยาวกว่า 2.3 กม. บริเวณ ชายหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และ “ปลาตายเกยหาดบางแสน” ภาพนี้ สร้างความสงสัยอย่างมากว่าเป็นเพราะอะไร เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำทะเลในช่วงเปลี่ยนฤดูหรือไม่ นอกจากนี้ยังการตั้งข้อสงสัยอีกว่า คลิป “ปลาตายเกยหาดบางแสน” เกิดขึ้นเพราะปัญหา มลพิษทางน้ำหรือไม่
เกี่ยวกับกรณี “ปลาตายเกยหาดบางแสน” กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้เข้าไปตรวจสอบหาสาเหตุต้นตอ “ปลาตายเกยหาดบางแสน” ซึ่งพบสาเหตุการตายของปลาที่ถูกน้ำทะเลซัดขึ้นมาเกยหาดบางแสน ปลาที่ตายเป็นปลาชนิดเดียวกันคือ ปลาตะเพียนน้ำเค็ม ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Anodontostoma chacunda มีชื่อเรียกอีกว่า ปลาโคกหรือปลามักคา เป็นปลาน้ำเค็มและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหลังเขียว
โดย “ปลาตายเกยหาดบางแสน” มีขนาดใกล้เคียงกันทั้งหมด ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร จึงตรวจสอบข้อมูลจากเครือข่ายอนุรักษ์ ผู้ประกอบการแพปลา และเรือประมงในพื้นที่ พบว่า เรือประมงอวนล้อมได้ออกจับปลาปลาตะเพียนน้ำเค็มที่ชุกชุมมากในระยะนี้ ปริมาณที่จับได้มากถึงวันละหลายหมื่นกิโลกรัม โดยขณะทำการประมง อวนที่จับปลาเกิดขาด ทำให้ปลาที่จับได้หลุดลอยและถูกคลื่นลมซัดไปเกยบริเวณชายหาดบางแสน
อย่างไรก็ตาม สำหรับ ปลาตะเพียนน้ำเค็ม เป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ราคาจำหน่ายจะอยู่ที่ 30-40 บาท/กิโลกรัม ส่วนใหญ่จะพบแค่ในบริเวณอ่าวไทยเท่านั้น และในช่วงนี้มีความชุกชุมกว่าช่วงอื่น ๆ โดย ปลาตะเพียนน้ำเค็ม ชาวประมงสามารถจับ ลากอวน ได้โดยไม่ถือว่าผิดกฎหมาย