บางแสน ชลบุรี

แจกที่เที่ยวสงกรานต์ “วันไหล” ทั่วภาคตะวันออก 12-29 เม.ย.นี้

แจกที่เที่ยวสงกรานต์ “วันไหล” ทั่วภาคตะวันออก 12-29 เม.ย.นี้

จากกรณีที่รัฐบาลได้ประกาศจัด “งานมหาสงกรานต์” หรือที่หลายคนมักเรียกว่า “สงกรานต์ 21 วัน” เพื่อเฉลิมฉลองที่ยูเนสโกยกให้ “ประเพณีสงกรานต์ไทย” เป็นมรดกวัฒนธรรมของโลก และเพื่อแสดงความยิ่งใหญ่สู่สายตาโลก ให้สมกับที่ได้รับการขึ้นทะเบียน

ทำให้สงกรานต์ในปีนี้ ยาวกว่าปีอื่นเป็นพิเศษ เพราะจะเริ่มต้นกันตั้งแต่วันที่ 1 – 21 เมษายน 2567 แต่ช่วงเวลาที่สนุกสนานแบบนี้ หลายคนอาจไม่อยากให้จบลงง่ายๆ

ดังนั้นแล้วจะดีมากแค่ไหนถ้าได้เล่นน้ำ ก่อเจดีย์ทรายกันต่ออีกนิด แน่นอนว่ามีเทศกาลหนึ่งของไทย ที่เป็นประเพณีจัดขึ้นต่อเนื่องหลังวันสงกรานต์ นั่นคือ “วันไหล” ที่สานต่อความรื่นเริงให้ย้อมใจก่อนกลับไปเริ่มทำงานใหม่อีกประมาณ 1 สัปดาห์

มาเช็กกันเลยว่ามีที่ไหนบ้างที่จัด “วันไหล” โดยเราได้รวบรวมข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มาฝากกัน

แจกพิกัด “วันไหล” ทั่วภาคตะวันออก

จังหวัดชลบุรี

  • ประเพณีก่อพระทราย วันไหลบางแสน ณ ชายหาดบางแสน 16-17 เมษายน 2567
  • งานสงกรานตืศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าวปี 2567 ณ เกาะลอย 19-29 เมษายน 2567

จังหวัดจันทบุรี

  • อาบน้ำพระจันทร์ สงกรานต์ราตรี ณ ลานกีฬาคนรักจันท์เทศบาลเมืองจันทบุรี 12 เมษายน 2567

จังหวัดปราจีนบุรี

  • วันไหลรวมใจประจันตดาม ตลาดเทศบาลประจันตคาม 13 เมษายน 2567

จังหวัดระยอง

  • เทศกาลประเพณีวันไหลสงกรานต์ บ้านเพ ณ บ้านเพ 12-16 เมษายน 2567

จังหวัดตราด

  • เฮฮา มหาสงกรานต์ ณ อ่างเก็บน้ำสระสีเสียด ต.หนองเสม็ด 12-13 เมษายน 2567

จังหวัดสระแก้ว

  • สงกรานต์ เทศบาลเมืองอรัญประเทศ ณ เทศบาลอำเภออรัญประเทศและสวนกาญจนาภิเษก 13-15 เมษายน 2567

จังหวัดนครนายก

  • สงกรานต์มันสาด ณ ตลาดเดินเพลินนครนายก 12-14 เมษายน 2567

จังหวัดฉะเชิงเทรา

  • สงสนาน สงกรานต์แปดริ้ว อำเภอเมือง 13-15 เมษายน 2567

จังหวัดสมุทรปราการ

  • ประเพณีสงกรานต์พระประแดง ณ พระประแดง 19-21 เมษายน 2567
  • ประเพณีแห่หงส์ – ธงตะขาบ ณ วัดกลางสวน พระประแดง 13-15 เมษายน 2567

ที่มาของ “วันไหล”

วันไหล” เดิมมีชื่อเรียกว่า “ประเพณีก่อพระทรายน้ำไหล” เป็นวันทำบุญขึ้นปีใหม่ที่นิยมปฏิบัติต่อๆ กันมาในภาคตะวันออกและเขตภาคกลางบางจังหวัด ในพื้นที่ติดทะเล โดยจะกำหนดหลังวันสงกรานต์ประมาณ 5-6 วัน ประมาณวันที่ 17-18 เมษายนของทุกปี

มีจุดเริ่มต้นมาจากในสมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ประชาชนผู้ศรัทธามักจะนิยมสร้างพระเจดีย์ภายในวัด ไม่ว่าจะวัดใหญ่หรือวัดเล็ก ต้องมีเจดีย์เชิดหน้าชูตากันทุกแห่ง แต่แน่นอนว่าการสร้างเจดีย์ ย่อมต้องใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการก่อสร้างที่สำคัญ ซึ่ง ทราย” เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่ขาดไม่ได้

ชาวทะเล ได้รับอิทธิพลมาจากธรรมเนียมการขนทรายเข้าวัดเช่นเดียวกัน โดยในช่วงฤดูร้อนใกล้ฤดูฝน ชาวบ้านจะรวมตัวกันขนทรายตามชายหาดใกล้ๆ เข้ามาในวัด เพื่อใช้ในการก่อสร้างเจดีย์ และปรับปรุงซ่อมแซมตัววัดแบบสารพัดประโยชน์ จนเกิดเป็นประเพณีที่เรียกว่า ก่อพระทรายน้ำไหล” นั่นเอง

นานวันเข้า “วันก่อพระทรายน้ำไหล” เริ่มพัฒนามีลูกเล่นมากขึ้น โดยชาวบ้านจะนำทรายที่ขนเข้ามา ก่อเป็นรูปกรวยเล็กๆ ให้ครบ 84,000 กอง เท่ากับจำนวนของพระธรรมขันธ์ พร้อมทั้งบรรจงนำดอกไม้มาตกแต่งกองทรายเหล่านั้นสวยงาม เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีการละเล่นพื้นเมือง ไปจนถึงงานทอดผ้าป่าทำบุญครั้งใหญ่

แต่ในปัจจุบัน ยานพาหนะเองก็พัฒนาขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด เราจึงใช้รถยนต์ขนทรายเข้าวัดแทน ประกอบกับสภาพบ้านเมืองที่เปลี่ยนไป หลายวัดไม่จำเป็นจะต้องใช้ทรายขนาดนั้นแล้ว ทำให้ “งานก่อพระทรายน้ำไหล” จางหายไป

สุดท้ายเมื่อไม่ได้มีการก่อพระทราย จึงลดชื่อให้สั้นลงเหลือแค่ ประเพณีวันไหล” คงความสนุกสนานความรื่นเริงไว้เหมือนเดิม และจัดต่อเนื่องสืบทอดกันมา

โดยกิจกรรมที่มักนิยมทำกันในวันนี้ มักจะมีการทำบุญใส่บาตร การสรงน้ำพระพุทธรูป การเล่นสาดน้ำสงกรานต์ การก่อพระเจดีย์ทราย และการแข่งขันกีฬาพื้นเมือง

ใครที่อยากไปสาดความสนุกกันต่อ ลองไปตามสถานที่ต่างๆ ที่เราแนะนำกันได้ ให้ได้เตรียมพร้อมกายและใจ ก่อนกลับมาสู้งานกันต่อ!

เปิดใจ “ทักษิณ” ให้สัมภาษณ์สื่อครั้งแรก ยันไม่บังคับลูกในสนามการเมือง!

สรุป 8 ทีมสุดท้าย ยูโรป้า ลีก ฤดูกาล 2023-2024

“บิ๊กเต่า” ไม่กังวลโดน “บิ๊กโจ๊ก” ฟ้องหมิ่น ลั่น เรื่องนี้อีกยาว

เรื่องล่าสุด