เปิดประวัติ “กำนันเป๊าะ” ผู้มากบารมีสีเทา แห่งบางแสน
นายสมชาย คุณปลื้ม หรือที่รู้จักกันในนาม “กำนันเป๊าะ” ภาพของเขานั้นในสายตาคนทั่วไปมีสองแบบ มีทั้งคนรัก และ มีทั้งคนชัง ในสายตาหลายๆคน เขาเป็นเจ้าพ่อ เป็นผู้มีอิทธิพล เป็นคน “สีเทา” อย่างสมบูรณ์แบบ แต่สำหรับอีกหลายคนใน “ชลบุรี” มองเขาในฐานะนักพัฒนา เพราะสิ่งที่เขาทำให้ “บางแสน” และ “ชลบุรี” มีไม่น้อย
จากผลงานทั้งสองด้าน ทำให้ตระกูล “คุณปลื้ม” กลายเป็นบ้านใหญ่ของชลบุรีอย่างสมบูรณ์แบบ ลูกชายของเขายึดครองการเมืองใน จ.ชลบุรีได้อย่างเบ็ดเสร็จและส่งผลให้ก้าวขึ้นสู่ระดับประเทศในตำแหน่งรัฐมนตรี
“กำนันเป๊าะ” เป็นนักการเมืองรุ่นเก่า เขาเกิดเมื่อ 30 ก.ย. 2480
ครอบครัวของ “กำนันเป๊าะ” นั้นถือว่ามีหน้ามีตาไม่น้อย เพราะพ่อของเขาเป็นผู้ใหญ่บ้านในตำบลแสนสุข หรือบางแสนที่เรารู้จักกันดี ส่วนแม่ของเขาเป็นแม่ค้าหมูในตลาดสดหนองมน มีโรงฆ่าสัตว์เป็นของตนเอง
สิ้น !! “กำนันเป๊าะ” เจ้าพ่อภาคตะวันออก
“ลูกกำนันเป๊าะ” พร้อมหน้าดูใจพ่อ ก่อนจากไปอย่างสงบ
ชีวิตของเขาเรียกว่าเป็นนักสู้ เพราะลาออกจากโรงเรียน มาเป็นกระเป๋ารถเมล์ตั้งแต่ ป.4 ก่อนที่จะหันมาค้าขาย มาทำเรือประมง และจุดนี้เองที่ทำให้เขาได้รู้จักกับชาวฝรั่งเศส และทำให้ชีวิตสีเทาของเขาเริ่มต้นขึ้น ว่ากันว่าเขามีชื่อไปเกี่ยวกับการค้าขายของหนีภาษีหลายๆครั้ง
เล่ากันว่า “กำนันเป๊าะ” เริ่มค้าขายของ “สีเทา” ในช่วงสงครามเวียดนาม ที่มีสินค้าหนีภาษีทะลักเข้ามาทาง “อู่ตะเภา”
นี่เองที่ทำให้ชื่อเสียงของเขาเริ่มขจรขจาย
ในทางเปิดเผย “กำนันเป๊าะ” เป็นเอเยนต์สุรารายใหญ่ในชลบุรี กับสุรามหาราษฎร์ ที่อยู่ในมือของเจ้าสัวอุเทน เตชะไพบูลย์
เมื่อมีชื่อเสียงเขา “สมชาย” ก็ได้เป็น “กำนัน” ตำบลแสนสุข และนี่เองเป็นที่มาของชื่อ “กำนันเป๊าะ”
ราชทัณฑ์พักโทษ “กำนันเป๊าะ” เป็นกรณีพิเศษขณะนี้อยู่โรงพยาบาลตำรวจ
“สนธยา” เข้าทำงาน นายกเมืองพัทยา แถลงต่อสภาเมือง ยืนยันผลักดัน EEC
เส้นทางการเมืองของเขาเริ่มต้นเมื่อเป็นผู้มากบารมี ก็ย่อมต้องมีนักการเมืองมาขอให้เป็นหัวคะแนน เขาเริ่มที่ การช่วยเหลือ “บุญชู โรจนเสถียร” ซึ่งลงง ส.ส. ครั้งแรกที่ชลบุรี ในนามพรรคกิจสังคมเมื่อปี 2518
ต่อมา “บุญชู” เลิกเล่นการเมือง แต่ดูเหมือนการเมืองจะไม่ห่างไปจาก “กำนันเป๊าะ” เสียแล้วเมื่อ “สมพงษ์ อมรวิวัฒน์” ขณะนั้นได้ตัดสินใจลงสมัคร ส.ส. ที่ชลบุรีเป็นสมัยแรก ในปี 2529
โดยภรรยาของ “สมพงษ์”ก็เป็น ลูกสาวของ “อุเทน เตชะไพบูลย์” นั่นเอง ทำให้ “กำนันเป๊าะ” ได้เข้ามาเป็นหัวคะแนนอย่างเต็มตัว
ครั้งนั้น “สมพงษ์ อมรวิวัฒน์” เป็นลขาธิการพรรคชาติประชาธิปไตยของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดีตนายกรัฐมนตรี
จากนั้นในปี 2531 “สมพงษ์” ย้ายไปอยู่กับ พ่อเลี้ยง“ณรงค์ วงศ์วรรณ ในนามพรรครวมไทย และแน่นอนว่า “กำนันเป๊าะ” ต้องตามไปด้วย
และเมื่อ “พ่อเลี้ยงณรงค์” ตั้งพรรคสามัคคีธรรมเพื่อเป็นนั่งร้านพล.อ.สุจินดา คราประยูร “สมพงษ์ – กำนันเป๊าะ” ก็ตามมาอยู่ด้วย และครั้งนี้เองที่เขาเจรจาขอให้เอา “สนธยา คุณปลื้ม” บุตรชายลงสมัคร ส.ส. ครั้งแรกในนาม “สามัคคีธรรม”
อย่างไรก็ตามรัฐบาล “สุจินดา” ไปไม่รอด และเกิดเหตุ “พฤษภาทมิฬ” ทำให้ “สมพงษ์ – สนธยา” ย้ายไปสังกัดพรรคชาติพัฒนาของ “น้าชาติ” พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของ “กลุ่ม 16” กลุ่ม ส.ส. ที่เกรียงไกรในเวลาต่อมา ซึ่งก่อตั้งโดยสามแกนนำสำคัญ “สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ – กำนันเป๊าะ – ไพโรจน์ เปี่ยมพงศานต์”
และจากพรรคชาติพัฒนาพวกเขาก็ย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทย และมารวมกับไทยรักไทย
หลังเหตุการณ์และวิกฤตทางการเมืองมากมาย กลุ่มการเมือง “คุณปลื้ม” ก็ได้รู้ว่าควรยึด “ชลบุรี” ไว้ให้แน่น และตั้งพรรคพลังชล แต่สุดท้ายเมื่อมาถึงการเลือกตั้งครั้งล่าสุดด้วย ดีลบางประการอันมิสามารถปฏิเสธได้ ทำให้ “สนธยา” ยอมหันมาใส่เสื้อพลังประชารัฐ
ย้อนกลับไปที่ “กำนันเป๊าะ” เมื่อยิ่งใหญ่เท่าใหร่ ก็ยิ่งอยู่ในสายตาและเป็นที่จับจ้อง เขากลายเป็นเป้าหมายลำดับต้นๆของทางการ ไม่ว่าจะเป็นคดีทุจริตในฐานะนักการเมืองท้องถิ่น หรือคดีจ้างวานฆ่า “กำนันยูร” ประยูร สิทธิโชติ
โดยในปี 2548 ศาลพิพากษา จำคุกเขาจากคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินสาธารณะเขาไม้แก้ว เป็นเวลา 5 ปี 4 เดือน แต่เขาได้หลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษาและตกอยู่ในฐานะผู้หลบหนีคำพิพากษา ซึ่งต่อมาในปี 2555 ศาลก็ตัดสินจำคุกในคดีจ้างวานฆ่ากำนันยูรอีก 30 ปี 4 เดือน แต่ก็ยังไม่สามารถนำตัวมาลงโทษได้เพราะหลบหนีคำพิพากษา แต่มีเสียงลือว่าเขาไม่ได้ไปไหนไกล
อภัยโทษกว่า1แสนคนพ่วง “กำนันเป๊าะ-ผู้พันตึ๋ง” ได้สิทธิ์ลดโทษ
จนกระทั่งวันที่ 30 มกราคม 2556 เขาถูกตำรวจจับกุมขณะเดินทางเข้ามารักษาตัวในกรุงเทพ ซึ่งขณะนั้นเขาได้ป่วยเป็นมะเร็งโดยใช้ชื่อปลอมว่า “กิม แซ่ตั้ง”
“กำนันเป๊าะ” จำคุกอยู่ไม่นาน ในปี 2560 ก็ได้พักโทษโดยให้เหตุผลว่าเขาอายุเกิน 70 ปี และไม่อยู่ในสภาพที่ช่วยตัวเองได้ เพราะป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ท่ามกลางข้อครหาว่ามีการใช้อำนาจพิเศษในการช่วยเหลือเพื่อการต่อรองบางอย่าง
แต่ที่สุดเขาก็ได้รับการปล่อยตัว และล่าสุดเมื่อเช้ามืดของวันที่ 17 มิ.ย. เขาก็ได้จากไปอย่างสงบที่ โรงพยาบาลใน จ.ชลบุรี
ปิดตำนาน “ผู้มากบารมีแห่งบางแสน”