การศึกษา
สอศ.เปิดสอนหลักสูตร EV
วันจันทร์ ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 16.01 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
สอศ.เปิดสอนหลักสูตร EV
ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการการอาชีวศึกษาครั้งที่ 9/2565 การขอความเห็นชอบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 (เพิ่มเติม พ.ศ. 2566 ) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชายานยนต์ไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ผ่านมติเห็นชอบจากคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรฯ ด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาอุตสาหกรรม ในการประชุมครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 และผ่านมติเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการอาชีวศึกษาด้านมาตรฐานคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ทำให้ในปัจจุบันมีสถานศึกษากว่า 51 แห่ง แบ่งเป็นภาคตะวันออกและกรุงเทพฯ 13 แห่ง ได้แก่ วท.กาญจนาภิเษกมหานคร วท.นนทบุรี วท.บางแสน วท.ชลบุรี วท.สัตหีบ วท.ฉะเชิงเทรา วท.บางประกง วท.จุฬาภรณ์ (ลาดขวาง) วท.บูรพาปราจีน วิทยาลัยเทคโนโลยีฐานเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี
ภาคเหนือ 5 แห่ง ได้แก่ วท.ลำปาง วท.นครลำปาง วท.แพร่ วท.นครสวรรค์ วท.พิษณุโลก , ภาคกลาง 5 แห่ง ได้แก่ วท.อุตสาหกรรมยานยนต์ วท.สุพรรณบุรี วท.นครปฐม วพก.อยุธยา วท.พระนครศรีอยุธยา , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 21 แห่ง วท.นครราชสีมา วท.หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ วท.บัวใหญ่ วท.บุรีรัมย์ วท.สุรินทร์ วท.กันทรารมย์ วท.กันทรลักษ์ วท.อุบลราชธานี วท.นครอุบลราชธานี วท.ขอนแก่น วท.เขาวง วท.พิบูลมังสาหาร วท.ชุมแพ วท.กระนวน วท.บ้านไผ่ วท.ขอนแก่น วท.กาญจนาภิเษกอุดรธานี วท.ร้อยเอ็ด วท.กาฬสินธุ์ วท.สกลนคร วท.นวมินทราชินีมุกดาหาร , ภาคใต้ 7 แห่ง ได้แก่ วท.นครศรีธรรมราช วท.กระบี่ วท.ภูเก็ต วท.สุราษฎร์ธานี วท.หาดใหญ่ วท.ตรัง
วิทยาลัยที่มีความพร้อมด้านครุภัณฑ์ EV สาขาวิชายานยนต์ไฟฟ้า จะช่วยยกระดับหลักสูตรเป็นสาขาวิชา ในระดับ ปวช. สาขาวิชายานยนต์ไฟฟ้า พ.ศ 2562 (เพิ่มเติมพ.ศ 2566) และในระดับ ปวส. สาขาวิชาเทคนิคยานยนต์ไฟฟ้า พ.ศ 2563 (เพิ่มเติม พ.ศ. 2566) พร้อมเปิดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1/2566 และขยายผลสู่สถานศึกษาที่เปิดสอนสาขาวิชาเทคนิคเครื่องกลอีกจำนวน 285 แห่ง ( ภายในปี 2568 ) สามารถผลิตกำลังคนด้าน EV ได้ 13,440 คน/ปี จากตัวเลขการคาดการณ์ความต้องการกำลังคนอาชีวศึกษาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกพบว่าภายในปี 2566 จะมีความต้องการกำลังคนอาชีวศึกษาประมาณ 44,492 ตำแหน่งทั่วประเทศ
สอศ. ยังพัฒนาครูอาชีวศึกษาด้านยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยส่งครูอาชีวศึกษาไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการ และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะพัฒนา นักเรียน นักศึกษา ให้มีความสามารถ ตรงต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และประเทศต่อไป
ส่งข่าวได้ที่ email : saowaporn12345@gmail.com , saowaporn@hotmail.com และ bat_mamsao@yahoo.com
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่