สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ฟ้องเรียกค่าเสียหาย “วชิระ” 10 ล้าน คดีแฮกเว็บไซต์เปลี่ยนชื่อ Kangaroo Court
วันที่ 18 สิงหาคม 2565 นายนรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กเล่าเรื่องคดีแฮกเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Kangaroo Court โดยระบุว่า
- เปิดศึกแย่งโชห่วย 4 แสนร้าน บิ๊กซี-โลตัส-แม็คโครไล่บี้ “ถูกดี” ค่ายตะวันแดง
- พันธบัตรออมทรัพย์ 2 หมื่นล้าน เริ่มขาย 22 ส.ค.นี้ เปิดขั้นตอนจองซื้อ
- จาก เจ้าสัวแสนล้าน โดนอุ้มจากโรงแรมหรู5ดาว ถูกจำคุก 13 ปีคดีทุจริต
คดีแฮกเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Kangaroo Court ส่วนคดีอาญา จำเลยให้การรับสภาพ ไม่ได้ต่อสู้คดี แต่ค่าเสียหายในส่วนแพ่งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้เรียกค่าเสียหายมาทั้งหมด 10,288,972 บาท แบ่งเป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียง 10,000,000 บาท ค่าเสียหายในส่วนแพ่งเราสู้คดีหลายประเด็น
ประเด็นสำคัญ คือ ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 เพราะคดีนี้อัยการโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาเกี่ยวกับการทำให้เสียหาย แก้ไขเปลี่ยนแปลง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม พ.ร.บ.คอมฯ ไม่ได้ฟ้องความผิดเกี่ยวกับชื่อเสียง ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเสื่อมเสียชื่อเสียง
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียง ตามมาตรา 44/1 เพราะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนแพ่งที่ไม่สอดคล้องกับมูลความผิดทางอาญา ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องคดีอาญา
ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเพียงแค่ 87,227 บาท ส่วนค่าเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียง 10,000,000 บาท ศาลยกคำร้องของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ผลในทางคดีส่วนแพ่งสอดคล้องกับแนวทางในการต่อสู้คดีครับ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 มีแฮกเกอร์เจาะระบบเว็บไซต์ทางการของศาลรัฐธรรมนูญ หลังศาลรัฐธรรมนูญมีข้อวินิจฉัย มติ 8 ต่อ 1 เห็นว่าการชุมนุมของกลุ่ม รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล นายอานนท์ นำภา และไมค์-ระยอง เมื่อ 10 สิงหาคม เข้าข่ายล้มล้างการปกครองฯ
ซึ่งแฮกเกอร์อัพโหลดหน้าเว็บเพจใหม่ และตั้งหัวข้อว่า Kangaroo Court ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า ศาลเตี้ย อีกทั้งฝังคลิปจากเว็บไซต์ยูทูบ ที่ชื่อว่า เพลง Guillotine (It goes Yah) ของ Death Grips เปลี่ยนหน้าเพจเป็นเพลง Guillotine (It goes Yah) จากยูทูบ
ต่อมาวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 ขออนุมัติหมายค้นบ้านผู้ต้องสงสัย ภายในบ้านพักแห่งหนึ่งใน ต.แสนสุข อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมช่วงเช้าวันที่ 13 พฤศจิกายน ประสานงานร่วมกับกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 3
จากการเข้าตรวจค้นพบตัวผู้ก่อเหตุทราบชื่อ นายวชิระ (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 33 ปี จบปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้การรับสารภาพว่าเป็นผู้แฮกเว็บศาลรัฐธรรมนูญจริง จึงสอบปากคำไว้เป็นหลักฐานพร้อมยึดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด เพื่อส่งให้กลุ่มงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์
อาชญากรรมทางเทคโนโลยีดำเนินการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลต่อไป การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดฐานเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ ตามมาตรา 5, 7 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560
มีโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท และหากผู้กระทำมีการทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ก็จะมีความผิดตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
- แฮกเกอร์เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ ถูกตำรวจไซเบอร์จับ-รับสารภาพ
- เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ “ถูกแฮก” ใส่เพลง ยังไม่สามารถใช้งานได้
ไม่พลาดข่าวสำคัญ เจาะลึกทุกประเด็น
เพิ่มเราเป็นเพื่อนทาง @prachachat