บางแสน ชลบุรี

Dtbezn3nNUxytg04ajYdY09Lx08XeG3dLQRPwT9dJ141l5.jpg

ศรัทธาเทพเจ้ากวนอู ช่วยค้าขาย..มีชื่อเสียง

“ศาลเจ้าพ่อกวนอูวิเศษชัยชาญ” ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นอีกศูนย์รวมศรัทธาที่สำคัญ ทั้งยังเป็นสถานที่สำคัญ ที่มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ตลาดศาลเจ้าโรงทอง ของ “ชาวจีน” ที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้มานานกว่าร้อยปี

บันทึกทางวัฒน ธรรมในอดีตระบุว่า “ศาลเจ้าพ่อกวนอู” เป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมาในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ราวปีพุทธศักราช 2418-2420

การออกแบบก่อสร้างให้มีการเล่นระดับเป็นส่วนๆ ได้แก่ ลานรอบอาคารขึ้นบันไดคู่สู่ซุ้มประตูทางเข้าก่อนที่จะเข้าสู่ลานกลางอาคารชั้นสอง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของงานสถาปัตยกรรมจีน

บริเวณกลางอาคารจะมองเห็นอาคารศาลเจ้าพ่อกวนอูเป็นสง่าอย่างชัดเจน ส่วนภายในศาลเจ้าจะมีจิตรกรรมจีน งานศิลปะสถาปัตยกรรมและประติมากรรมรูปแกะสลัก “องค์เทพเจ้ากวนอู” สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของ “ชุมชนชาวจีน” ที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้

เพื่อเคารพ กราบไหว้ในเทศกาลต่างๆ รวมทั้งได้ช่วยกันทำนุบำรุงรักษาเรื่อยมา

น่าสนใจว่าประชาชนชาว “ตลาดศาลเจ้าโรงทอง” ได้มีการสืบสานทางจิตวิญญาณเดิมจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งที่มีต่อเทพเจ้ากวนอูอย่างไม่เสื่อมคลาย

การบูชากราบไหว้เทพเจ้ากวนอูนั้น มีความเชื่อสำคัญว่า…จะทำให้ประสบความสำเร็จ พบแต่ความซื่อสัตย์ อีกทั้งมีคนเคารพนับถือต่อผู้ที่บูชา ปราศจากคนปองร้าย รวมทั้งสามารถฝ่าฟัน…ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆในชีวิตไปได้ด้วยดี คิดการใดๆก็จะประสบความสำเร็จ

ตามประวัติบันทึกไว้ว่า…การพัฒนาศาลเจ้าพ่อกวนอูบนพื้นฐานอัตลักษณ์และจิตวิญญาณ ตามเงื่อนไขของกาลเวลาที่ทำให้ศาลเจ้าพ่อกวนอูซึ่งสร้างขึ้นมากว่าร้อยปีเกิดการชำรุดทรุดโทรม ดังนั้นในปี 2547 คณะกรรมการชุมชนฯจึงได้เกิดแนวคิดที่จะทำนุบำรุง ด้วยการบูรณะซ่อมแซม… จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ในปี 2550

ศาลเจ้าพ่อกวนอูแห่งนี้จึงถือได้ว่าเป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง

@@@@@@

ศรัทธาความเชื่อ “ศาลเจ้าพ่อกวนอู” จาก การศึกษาพบว่า มีลักษณะผสมผสานระหว่างความเชื่อในเทพเจ้าจีนและความเชื่อในพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ภายในศาลเจ้านอกจากจะมีรูปเคารพเทพเจ้าจีนแล้ว ยังมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ด้วย นอกจากนั้นยังมีการประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญตามประเพณีไทย

ในภาพใหญ่ความเชื่อที่มีต่อ “เทพเจ้ากวนอู” นั้นจะแบ่งออกเป็นเรื่องๆได้ 5 ประการ ได้แก่ ความเชื่อด้านสุขภาพ โชคลาภเงินทอง ครอบครัว ความปลอดภัยและความสำเร็จ

แน่นอนว่าความเชื่อเหล่านี้ยังคงปรากฏให้ เห็นอยู่ โดยเฉพาะยังมีการจัดพิธีกรรมต่างๆขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ สะท้อนศรัทธาที่ยังคงอยู่ไม่เสื่อมคลาย ยกตัวอย่างเช่น พิธีแห่เจ้าพ่อกวนอู ทิ้งกระจาด วันขอบคุณเทพเจ้า วันเกิดเทพเจ้ากวนอู เทศกาลกินเจ สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

ทำให้ผู้ศรัทธาเกิดความสบายใจ มุ่งมั่น มีกำลังใจในการต่อสู้กับชีวิต โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมของเทพเจ้ากวนอูในการดำเนินชีวิต

“เทพเจ้ากวนอู” ถือเป็นเทพเจ้าศาสนาเต๋า ทั้งยังเป็นเทพที่มีลักษณ์พิเศษเพราะเทพเจ้ากวนอูยังเป็นเทพเจ้าในศาสนาพุทธอีก เนื่องจากในสมัยสามก๊ก กวนอูเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี มีความกล้าหาญและเก่งในการทำสงคราม คนจีนจึงยกกวนอูเป็นเทพเจ้าหลังจากเสียชีวิตไป

ผู้ศรัทธาคิดว่าเทพเจ้ากวนอูสามารถคุ้มครองชีวิตประชาชนในหลายๆด้าน เช่น การค้าขาย ปกป้องไม่ให้ผี…วิญญาณชั่วร้ายเข้าบ้าน การเดินทางปลอดภัย รวมถึงให้สุขภาพแข็งแรง

ตามคำบรรยายในวรรณกรรม “สามก๊ก” หน้าตา “กวนอู” นั้นโดดเด่นจำง่าย รูปร่างสูงใหญ่ราว 6 ศอก หน้าแดง ดวงตาเรียวงาม หนวดเครา สีดำยาวถึงอก กิริยาท่าทางองอาจน่าเกรงขาม

“กวนอู”…เป็นผู้เชี่ยวชาญในเพลงอาวุธ สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญในด้านสงครามและคัมภีร์หลี่ซื่อชุนชิว มีเรื่องเล่าที่ชาวบ้านรู้กันดี เช่น กวนอูบุกเดี่ยวข้ามฟาก กวนอูคืนตราตั้ง บุกเดี่ยวพันลี้ หลังจากท่านสิ้นไปจึงถูกยกเป็นเทพเจ้า…และได้รับการยกย่องเป็น “เทพบู๊”

ยุคชาวจีนโพ้นทะเลอพยพเข้ามาประเทศ ไทย…ได้นำความเชื่อเทพเจ้ากวนอูมาด้วย ส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตด้วยความลำบากยากจนแล้วค่อยๆมีชีวิตที่ดีด้วยความ “อดทน”… “ขยัน”

กล่าวกันว่า…ชาวจีนส่วนมากที่มีฐานะร่ำรวยจากความลำบากยากจน กระทั่งสร้างฐานะได้มั่นคงนั้นต่างบูชารูปปั้นเทพเจ้ากวนอู จนมีทรัพย์สินเงินทองมากมาย

แน่นอนว่า…ชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากจึงนิยมยกย่อง “เทพเจ้ากวนอู” เป็น “เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง”

@@@@@@

ผู้คนชุมชนศาลเจ้าโรงทองศรัทธา “เจ้าพ่อกวนอู” หนึ่งในนั้นคือ ครูมาลี แววเพ็ชร เจ้าของร้านมาลีขนมไทย ผู้สืบสาน “ขนมเกสรลำเจียก” เล่าให้ฟังว่า บ่อยครั้งที่ไปกราบขอพร ด้วยศรัทธาอย่างมากว่าเจ้าพ่อกวนอูจะช่วยให้ค้าขายดี และมีชื่อเสียง จากวันวานจนถึงวันนี้ก็ยังมีความเชื่อศรัทธาที่ไม่เสื่อมคลาย

บทสรรเสริญ “เทพเจ้ากวนอู” ….หก ม้อ ไต่ตี่ หั่ง สี่ เหมี่ย ซิ้ง เง็ก จั๊ว ซัว เจี่ย เหี่ยง อุย เล้ง บ่อง ปัง เส็ก อัง เล้ง

คำแปล “พระมหาเทวราชผู้บำราบมาร ผู้เป็นเสวกามาตย์เรืองนามแห่งแผ่นดินฮั่น สำแดงเดชฤทธานุภาพเหนือขุนคีรีอวี้เฉวียน ยังให้หมื่นแดนแสนสุขเย็นเป็นศานติ ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมแห่งความซื่อสัตย์ ปกปักอารักษ์เวียงนครแห่งพระธรรมราชา ขอนอบน้อมแด่ปวงพระธรรมบาลโพธิสัตย์มหาสัตย์มหาปัญญาบารมีฯ”

ลำดับพิธีไหว้…จุดธูป 13 ดอก โดยไหว้ตามจุดตั้งแต่ 1-4…จุดที่ 1 เทพยดาฟ้าดิน 5 ดอก จุด ที่ 2 พระโพธิสัตว์กวนอิม 3 ดอก จุดที่ 3 (กระถาง ใหญ่) เทพเจ้ากวนอูและเทพเจ้าทุกพระองค์ 3 ดอก

จุดที่ 4 หมุ่งซิ้ง (ประตู) ซ้าย-ขวา ข้างละ 1 ดอก

“ศรัทธา”…นำมาซึ่งปาฏิหาริย์? เชื่อไม่เชื่อโปรดอย่าได้…“ลบหลู่”.

รัก-ยม

เรื่องล่าสุด