บางแสน ชลบุรี

ภาพจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี - Chonburi PR

“วันไหลสงกรานต์” มีที่มาอย่างไร เช็กพิกัด 2567 จังหวัดไหนบ้าง

  • “อาหารแก้ง่วง” เดินทาง “ช่วงสงกรานต์ 2567” ปลอดภัย
  • How to “กู้ผิว” กลับมาสวยหลังผ่านสมรภูมิ “เล่นน้ำสงกรานต์”

ปีนี้ 2567 สงกรานต์ 21 วัน ยาวกว่าปีอื่น เริ่มต้นกันตั้งแต่วันที่ “1 – 21 เมษายน” หลัง รัฐบาลได้ประกาศจัดงานมหาสงกรานต์ “World Songkran Festival หมุดหมายนักท่องเที่ยวทั่วโลก” เพื่อเฉลิมฉลองที่ยูเนสโกยกให้ “ประเพณีสงกรานต์ไทย” มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษย์ชาติ

สงกรานต์ปีนี้ถือว่าคึกคัก ครึกครื้น กว่าหลายปีที่ผ่านมา แถมยังเต็มไปด้วยสีสัน หลายสถานที่ หลายจังหวัด กลับมาจัดงานเล่นน้ำกันอย่างยิ่งใหญ่สนุกสนาน ถูกใจทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ  

รวมทั้งในโลกออนไลน์ก็มีการพูดถึงสงกรานต์จนแฮชแท็ก #สงกรานต์2567 ขึ้นติดเทรนในโซเชียล ต่อเนื่องตลอดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยปีนี้มีผู้ให้ความสนใจและพูดถึงกันมาก เพราะมีวันหยุดยาวถึง 5 วัน

ใครยังล่นน้ำสงกรานต์ไม่จุใจ หรือ ยังพอมีเวลาพักผ่อนเพิ่มอีก แต่ละพื้นที่ยังมีการจัดงาน “วันไหลสงกรานต์” ให้ได้เฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ของไทยต่อเนื่อง ให้สานต่อความสนุก รื่นเริง ก่อนกลับไปเริ่ม “ทำงาน” เช็กพิกัดปีนี้ 2567 มีจังหวัดไหน จัดงาน พร้อมพาไปรู้ความเป็นมาของ “วันไหลสงกรานต์” ให้มากขึ้น 

  • หยุดสงกรานต์เช็กอาการตัวเองเข้าข่าย “ซึมเศร้าหลังหยุดยาว” หรือไม่

เช็กที่นี่จังหวัดไหนจัด “วันไหลสงกรานต์ 2567”

ภาพจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี - Chonburi PR

ภาพจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี – Chonburi PR

ภาพจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี – Chonburi PR

ชลบุรี 2567

  • 16 – 17 เม.ย. งานประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน ณ ชายหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง 
  • 17 – 18 เม.ย. งานประเพณีแห่พญายม สงกรานต์บางพระ ณ ริมทะเลบางพระ อ.ศรีราชา 
  • 18 เม.ย. ประเพณีอุ้มสาวลงน้ำและสงกรานต์เกาะสีชัง ณ เกาะขามใหญ่ อ.เกาะสีชัง 
  • 18 เม.ย. ประเพณีวันไหลนาเกลือ ณ สวนสาธารณะลานโพธิ์
  • 19 เม.ย. งานประเพณีวันไหลพัทยา ณ วัดชัยมงคล (พระอารามหลวง) , หาดพัทยา
  • 19-20 เม.ย. งานสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว ณ เกาะลอย อ.ศรีราชา 
  • 20 เม.ย. งานประเพณีวันไหลบางเสร่ ณ หาดบางเสร่ อ.สัตหีบ 
  • 20 เม.ย. งานประเพณีกองข้าวเมืองพัทยา ณ สวนสาธารณะลานโพธิ์

พระประแดง 2567

  • วันที่ 19-21 เม.ย. งานวันไหลพระประแดง จัดขึ้นในพื้นที่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

ระยอง 2567

  • วันที่ 16 เม.ย. งานวันไหลสงกรานต์บ้านเพ ณ บ้านเพ อ.เมือง 
  • วันที่ 16-17 เม.ย. วันไหลปลวกแดง อ.ปลวกแดง 

ยาย พาลูกหลานมาก่อพระเจดีย์ทราย ในงานวันไหลปลวกแดง ภาพจาก : เทศบาลตำบลบ้านปลวกแดง จ.ระยอง

ยาย พาลูกหลานมาก่อพระเจดีย์ทราย ในงานวันไหลปลวกแดง ภาพจาก : เทศบาลตำบลบ้านปลวกแดง จ.ระยอง

ยาย พาลูกหลานมาก่อพระเจดีย์ทราย ในงานวันไหลปลวกแดง ภาพจาก : เทศบาลตำบลบ้านปลวกแดง จ.ระยอง

  • วันที่ 28 เม.ย. งานวันไหลวัดปากน้ำ อ.เมือง 

ฉะเชิงเทรา 2567

  • วันที่ 21 เม.ย.67 วันไหลตลาดโรงสี บริเวณลานหน้าตลาดพระโรงสี อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

สมุทรปราการ 2567

  • วันที่ 25-26 เม.ย.67 งานไหล Festival จัดขึ้นบริเวณลานปูน ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยแพรกษาใหม่ 

กาญจนบุรี 2567

  • วันที่ 17 เม.ย.67 ประเพณียกธงสงกรานต์บ้านเบญพาด อ.พนมทวน 
  • วันที่ 17 เม.ย.67 วันไหลเมืองกาญจน์ ท่าน้ำ โค้งประปา 
  • วันที่ 19 เม.ย.67 งานสงกรานต์บ้านเลาขวัญ อ.เลาขวัญ 
  • หยุดสงกรานต์เช็กอาการตัวเองเข้าข่าย “ซึมเศร้าหลังหยุดยาว” หรือไม่ 
  • How to “กู้ผิว” กลับมาสวยหลังผ่านสมรภูมิ “เล่นน้ำสงกรานต์”

“วันไหลสงกรานต์” ภูมิหลังและความเชื่อ

“วันไหลสงกรานต์” แต่เดิมว่า “ประเพณีก่อพระทรายน้ำไหล” เป็นวันทำบุญขึ้นปีใหม่ที่นิยมปฏิบัติต่อกันมาในภาคตะวันออก และภาคกลางบางจังหวัด มักจะจัดหลังวันสงกรานต์ ประมาณ 5-6 วัน จากการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง มีการอธิบายไว้ดังนี้ 

  • แต่ละช่วงวัย “นึกถึงอะไร” ในช่วงสงกรานต์
  • เสริมมงคลวันสงกรานต์ “ไหว้พระ 10 วัด” เริ่มต้นฉ่ำๆ รับปีใหม่ไทย

ชาวบ้านนิยม “ก่อพระเจดีย์ทราย” เป็นกิจกรรมหนึ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จุดประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดย การก่อเจดีย์ทรายคือ การขนทราย หาบทรายมากองสูงแล้วรดน้ำเอาไม้ปั้นกลึงเป็นรูปทรงเจดีย์ ปักธงทิวต่าง ๆ ตกแต่งกัน องค์ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง เพื่อก่อให้ครบ 84,000 กอง เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์

เมื่อก่อเสร็จ พระเจดีย์ทรายแต่ละกองก็จะมีธงทิว พร้อมด้วยผ้าป่า ตลอดจนสมณบริขารถวายพระ พระสงฆ์ก็จะพิจารณาบังสุกุล ทำบุญเลี้ยงพระ เลี้ยงพระเสร็จก็เลี้ยงคนที่ไปร่วมงาน ผลที่ได้เมื่องานเสร็จแล้ว ทางวัดก็ได้ทรายไว้สำหรับสร้างเสนาสนะ ปูชนียสถานในวัด หรือถมบริเวณวัด พระสงฆ์ก็ได้เครื่องปัจจัยไทยธรรมต่าง ๆ

นอกจากการขนทรายเข้าวัดเพื่อพัฒนาวัดแล้ว ยังเป็นการพัฒนาท้องถิ่นไปพร้อมกันด้วย ต่อมาเมื่อสภาพของบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ความเจริญทางวิทยาการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น การขนทราย โกยทราย หาบทราย เข้าวัดจึงค่อย ๆ หายไป เป็นการซื้อทรายเข้าวัดแทน ทำให้งานก่อพระทรายน้ำไหลก็เปลี่ยนสภาพไป จึงถูกเรียกชื่อแตกต่างไป เป็น “วันไหล” หรือ “ประเพณีวันไหล”

แต่ยังคงไว้ซึ่งกิจกรรมทำบุญตักบาตร และทรงน้ำพระพุทธรูป การก่อพระเจดีย์ทราย การรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ การเล่นสาดน้ำและการละเล่นพื้นบ้าน เช่น สะบ้า ช่วงรำ มวยทะเล เป็นต้น และการจัดกิจกรรมรื่นเริงต่าง ๆ โดยปรับไปตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่  

อ่านข่าวอื่นๆ 

“ลอรี-จอร์จ” แฝดศีรษะติดกันที่อายุมากที่สุดเสียชีวิตแล้วในวัย 62 ปี

สิงคโปร์เตรียมผลัดใบ “ลี เซียน ลุง” ส่งไม้ต่อ “ลอว์เรนซ์ หว่อง”

“หมอชิต” คึกคัก คนกลับ กทม. หลังหยุดสงกรานต์ 2567

เรื่องล่าสุด