อื่นๆ
ใครจะเชื่อว่าปลากัดที่เคยซ้อนตามลำคลองแถวบ้านสมัยเด็กๆ เอามาเลี้ยงบ้าง เอามากัดกันบ้าง พอเวลาผ่านไปจะกลายเป็นสัตว์น้ำประจำประเทศไทย และราคาปลากัดก็แพงขึ้นไปมากตามการพัฒนาสายพันธุ์ จากราคาไม่กี่บาท เป็นราคาหลักร้อย หลักพัน หลักหมื่น บางตัวหลักแสน หรือ หลายแสนบาท ปัจจุบันปลากัดที่เราเห็นทั่วไปจะมี 2 สายพันธุ์หลักๆ
สายพันธุ์ดั้งเดิมตามธรรมชาติ
- ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ
- ปลากัดป่าภาคอีสาน
- ปลากัดป่าภาคใต้
- ปลากัดป่ามหาชัย
- ปลากัดป่าภาคตะวันออก
สายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้น แบ่งเป็น 2 สายพันธุ์
1 . พัฒนาความเก่ง
– ปลากัดลูกหม้อ เป็นการคัดปลาที่กัดเก่ง มีความทนทาน กัดจุดสำคัญของปลา เช่น กัดท้อง กัดทับสัน กัดลำตัว เพื่อให้ถ่ายทอดความเก่ง อดทนสู่รุ่นลูกต่อไป
– ปลากัดยักษ์ เป็นสายพันธุ์ปลากัดที่พัฒนาสายพันธุ์โดยคนไทย ปลากัดยักษ์ มีขนาดใหญ่กว่าปลากัดสายพันธุ์อื่นถึง 2 เท่า ขนาดมาตรฐานอยู่ที่ 2.5 นิ้วขึ้นไป สามารถแบ่งปลากัดยักษ์ออกเป็น 3 ประเภท คือ ปลากัดยักษ์ครีบสั้น ปลากัดยักษ์ครีบยาว ปลากัดยักษ์ป่าหรือปลากัดหม้อยักษ์
– ปลากัดมาเลย์ เป็นสายพันธุ์ปลากัดที่ขึ้นชื่อเรื่องความหนังเหนียว เกร็ดแน่น และดุดัน หรือที่หลายคนเรียกว่า ปลาลูกนอก เพราะนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ลักษณะท่าทางน่าเกรงขาม
2 . พัฒนาความสวยงาม
– ปลากัดฮาร์ฟมูนหรือปลากัดพระจันทร์ครึ่งซีก ลักษณะเด่นของปลากัดสายพันธุ์นี้ จะมีหางกางได้ถึง 180 องศา
– ปลากัดคราวน์เทลหรือปลากัดหางมงกุฎ ลักษณะเด่นของปลากัดสายพันธุ์นี้ หางจะเป็นลักษณะเป็นแหลมคล้ายมงกุฎ
– ปลากัดหางสองแฉก ลักษณะเด่นของปลากัดสายพันธุ์นี้ คือ หางจะเป็นสองแฉก ปลากัดสายพันธุ์นี้เริ่มต้นเป็นปลาที่พิการทางหาง แต่พัฒนาจนมีความสวยงาม
– ปลากัดจีน ลักษณะเด่นของปลากัดสายพันธุ์นี้ คือจะมีหางยาวสวยงาม พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลากัดลูกหม้อให้มีหางและครีบให้ยาวขึ้น
–ปลากัดหูช้าง ลักษณะเด่นของปลากัดสายพันธุ์นี้อยู่ที่ครีบหูที่มีขนาดใหญ่พอ ๆ กับครีบหาง เป็นการพัฒนาลักษณะครีบหูที่แต่เดิมเป็นสีใส ให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิมและมีสีสันมากกว่าเดิม จนกลายมาเป็นหูช้าง
– ปลากัดแฟนซี เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ปลากัดสวยงามที่นิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น เป็นการพัฒนาสายพันธุ์มาจากปลากัดหม้อ นำมาเพาะพันธุ์ให้มีสีสันหลากหลาย เรียกสีที่ได้แตกต่างออกไป มีชื่อเรียกมากมายตามลักษณะสีของปลา เช่น โค่ย , มาเบิ้ล , ดรากอน , กาแล็คซี่ , นีโม่ เป็นต้น
พอจะทราบสายพันธุ์ปลากัดกันแล้ว ตอนต่อไปจะนำเสนอการเพาะปลากัด และการอนุบาลลูกปลากัด ว่าจะมีวิธีการและเคล็ดลับอะไรบ้าง คอยติดตามกันได้ครับ
ขอบคุณรูปหน้าปกจาก JuanCarlosPalauDiaz โดย pixabay
ขอบคุณรูปประกอบที่1 จาก senoaji1989 โดย pixabay
ขอบคุณรูปประกอบที่ 2 จาก senoaji1989โดย pixabay
ขอบคุณรูปประกอบที่ 3 จาก lmstevendesign โดย pixabay
ขอบคุณรูปประกอบที่ 4 จาก joshuaclifford123 โดย pixabay
ขอบคุณรูปประกอบที่ 5 จาก nicefishes โดย pixabay
ความคิดเห็น