บางแสน ชลบุรี

ดร.ธรณ์ ไขข้อสงสัย”แพลงก์ตอนบลูม”บางแสน เมื่อไหร่ทะเลจะหายเขียว

ดร.ธรณ์ ไขข้อสงสัย”แพลงก์ตอนบลูม”บางแสน เมื่อไหร่ทะเลจะหายเขียว

ดร.ธรณ์ ไขข้อสงสัย”แพลงก์ตอนบลูม”บางแสน เมื่อไหร่ทะเลจะหายเขียว

ดร.ธรณ์ เปิดข้อมูล ตอบคำถามที่หลายคนสงสัย “แพลงก์ตอนบลูม” ทะเลบางแสน เมื่อไหร่น้ำทะเลจะหายเขียวและปลาจะเลิกตาย

ล่าสุด  ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พูดถึงปรากฏการณ์ “แพลงก์ตอนบลูม” ผ่านทางเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า..

คำถามสำหรับคนบางแสน-ศรีราชาในปัจจุบัน ไม่ใช่น้ำเขียวคืออะไร ? แต่ถามว่าเมื่อไหร่น้ำจะเลิกเขียว ปลาจะเลิกตาย คนจะเล่นน้ำใสๆ ได้สมที่ตั้งใจมาเที่ยวทะเล

คณะประมง มก. ร่วมกับ สสน. วิเคราะห์ข้อมูลต่อเนื่องจากสถานีศรีราชา โดยดูจากข้อมูลย้อนหลัง บอกได้ว่าน้ำเขียวแถวนี้จะเกิดช่วงพฤษภาคม-ตุลาคม

หมายความว่าขึ้นเดือนพฤศจิกายนเมื่อไหร่ น้ำจะดีขึ้น และดีต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงพฤษภาคมปีต่อไป
สอดคล้องกับลมมรสุมที่พัดน้ำเขียวมาสู่ฝั่งด้านนี้ ยังเกี่ยวกับการไหลเวียนของกระแสน้ำในอ่าวไทย

ดร.ธรณ์ ไขข้อสงสัย

อย่างไรก็ตาม ปีนี้เป็นปีเอลนีโญ ซึ่งจะแรงขึ้นเรื่อยๆ ไปจนสิ้นปี อาจเกิดความแปรปรวนที่ต้องตามต่อไป
นอกจากนี้ ปรากฏการณ์น้ำเขียวที่ถี่ขึ้น ค่าออกซิเจนที่ต่ำลงบ่อยๆ ทำให้สัตว์น้ำตาย ทำให้ปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมกำลังกลายเป็นภัยคุกคามรุนแรงทั้งต่อการประมง การเพาะเลี้ยง และการท่องเที่ยว

นักวิทยาศาสตร์คงได้แต่บอกสถานการณ์ แต่การแก้ปัญหาจริงจังต้องช่วยกันมากว่านี้เยอะ โดยเฉพาะฝ่ายนโยบาย/รัฐบาล

สิ่งที่เกิดขึ้นคงพอเห็นแล้วว่าทะเลแถวนี้กำลังแย่ จะโปรโมตการท่องเที่ยวยังไง หากธรรมชาติแย่ อะไรมันก็ไม่เป็นอย่างใจฝัน

หวังว่าปัญหานี้จะได้รับความสนใจจริงจัง ไม่งั้นความเดือดร้อนจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ
😔
ภาพ – เพจ ชอบจังบางแสน 🙏🏼

ขณะที่ เพจเฟซบุ๊ก สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ได้โพสต์ข้อความระบุว่า..

จ๊ะเอ๋ ! น้องน๊อกตี้คนเดิม เพิ่มเติม คือ พวกเรากลับมาหาอีกรอบแล้วนะ แฮ่ ๆ 

จำได้ใช่ไหม เราเคยเจอกันแล้ว เมื่อต้นเดือนสิงหาคม!! หลังจากนั้น เราก็ย้ายไปทะเลแถวบางพระ อ. ศรีราชา แล้วก็ไปตั้งฐานทัพอยู่รอบนอก แถว ๆ กลางทะเล #หลายคนจึงไม่เห็นเรานั่นเอง 

แต่ แต่ แต่ ช่วงนี้!! ฝนเริ่มตกบ่อยขึ้น ธาตุอาหารจากกิจกรรมบนบก ก็ไหลลงสู่ทะเล ซึ่งเราชอบมาก เพราะมันทำให้เราโตไว แบ่งตัวกันได้ดี ประกอบกับมีแสงแดด ช่วยให้เราสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มที่

ทีนี้ เราก็ว้าวุ่นเลย แบ่งตัวได้อย่างเต็มที่ สร้างครอบครัวออกมาเต็มทะเลไปหมด แล้วก็เป็นอย่างที่เห็นตอนนี้ ทะเลบางแสนเริ่มเป็น #ชาเชียว อีกแล้วล่ะ แฮ่ ๆ  

จริง ๆ แล้ว เราเคยบลูมต่อเนื่อง ทั้งในฤดูร้อนและฤดูฝน ประมาณ 3 – 4 ครั้ง ติด ๆ กัน เมื่อหลายปีก่อน จึงไม่แปลกที่เราจะกลับมาอีก (จริง ๆ ก็แอบแปลกอยู่นะ) และถ้าเราเกิดบลูมบ่อย ๆ แบบนี้ สัตว์น้ำหลายชนิดที่สู้เราไม่ไหว ก็คงต้องตายลงเหมือนครั้งก่อน ๆ 

เรื่องล่าสุด