บางแสน ชลบุรี

Thailand-Smart-City-Expo-2022-1.jpg

ค้นหาแนวทางสร้าง ‘เมืองอัจฉริยะ’ ให้สอดรับอัตลักษณ์เมือง พร้อมยกระดับชีวิตคนไทยในงาน ‘Thailand Smart City Expo 2022’ [ADVERTORIAL]

‘เมืองอัจฉริยะ’ หรือ ‘Smart City’ แนวคิดเรื่องการยกระดับเมืองที่ถูกพูดถึงกันมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1990 และหลายประเทศก็นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาเมืองให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะได้จริง แต่ก็มีไม่น้อยที่ยังหลงทางเพราะเข้าใจว่า ‘เมืองอัจฉริยะ’ เชื่องโยงกับเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมเท่านั้น ทำให้เกิดการวางนโยบายและแผนการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะผิดทาง

เพราะแกนหลักของแนวคิดเมืองอัจฉริยะนั้นหมายรวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดี ในแง่ของสุขภาพ รายได้ ที่อยู่อาศัย อาหาร และความปลอดภัยของทุกคนในเมือง การพัฒนาเมืองไปสู่การเป็น ‘เมืองอัจฉริยะ’ จึงจำเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตของคนในเมือง เพื่อยกระดับให้เป็นเมืองที่มีความน่าอยู่ มีคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดี

โดยเฉพาะประเทศไทย ‘เมืองอัจฉริยะ’ เป็นหนึ่งในแนวทางที่กำลังขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นในทุกเมือง ทุกจังหวัดของประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า (depa) จึงจับมือกับ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เอ็น.ซี.ซี.) จัดงาน ‘Thailand Smart City Expo 2022’ งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีระดับนานาชาติด้านเมืองอัจฉริยะ เพื่อให้ผู้พัฒนาเมืองหรือผู้นำชุมชนสามารถหาแนวคิดและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์และตอบโจทย์ความต้องการในการพัฒนาพื้นของตนเอง

ศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เอ็น.ซี.ซี.) ผู้จัดงาน Thailand Smart City Expo 2022 เผยว่า “ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้มีความทันสมัยตามอัตลักษณ์ทางสังคมของเมือง พร้อมทั้งกำหนดโซนพื้นที่สำหรับกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดความเหมาะสม โดยกระจายความเจริญออกไปยังพื้นที่โดยรอบ เพื่อลดความแออัดของประชากรในเขตเมืองใหญ่และลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

“แต่การจะพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้พัฒนาเมืองหรือผู้นำชุมชนจำเป็นต้องนำองค์ความรู้ของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่เชื่อมโยงความต้องการและอัตลักษณ์ชุมชนโดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาจัดการอย่างเป็นระบบ การจัดงานครั้งนี้จึงเชิญพันธมิตรที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั่วทุกมุมโลกมาให้ความรู้และจุดประกายแนวคิดการพัฒนาเมืองโดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมให้สอดรับกับอัตลักษณ์ของแต่ละเมือง”

ปัจจุบันรัฐบาลได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไว้ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ที่ผ่านมามีชุมชนและเมืองในพื้นที่ต่างๆ ยื่นข้อเสนอแผนพัฒนาเมืองทั้งสิ้น 61 ข้อเสนอ ใน 33 จังหวัด และมีเมืองที่ได้รับการประกาศเป็นเมืองอัจฉริยะแล้ว 30 พื้นที่ เช่น สามย่านสมาร์ทซิตี้, เมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4, เมืองอัจฉริยะจังหวัดพิษณุโลก, เมืองน่านสู่เมืองอัจฉริยะ, ขอนแก่นสมาร์ทซิตี้, แสนสุขสมาร์ทซิตี้ จ.ชลบุรี, ยะลาเมืองอัจฉริยะ เป็นต้น

โดยแต่ละพื้นที่ ผู้พัฒนาเมืองก็จะรักษาอัตลักษณ์ของพื้นที่ โดยเฉพาะศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ แหล่งที่อยู่อาศัย พื้นที่เฉพาะ เช่น เขตอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เขตนวัตกรรม พื้นที่พิเศษเพื่อการอนุรักษ์แหล่งโบราณคดี มรดกทางสถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์และวิถีชีวิตพื้นถิ่น รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาผนวกรวมกับความต้องการของคนในพื้นที่ และต้องมีองค์ประกอบสำคัญของเมืองที่ดี 7 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment), การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility), การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living), พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People), พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy), เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) และการบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)

ศักดิ์ชัยยกตัวอย่างแนวคิดการจัดการเมืองและประยุกต์ใช้นวัตกรรมของจังหวัดยะลา จะเน้นไปที่ 4 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ, เศรษฐกิจอัจฉริยะ, การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ และการดำรงชีวิตอัจฉริยะ ขับเคลื่อนภายใต้แนวทางการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและการสื่อสารโทรคมนาคม ด้วยการบูรณาการระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีอยู่เดิมและการยกระดับขีดความสามารถ รวมถึงสมรรถนะของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลทั้งระบบ พร้อมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์และนวัตกรรมเพิ่มเติม เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านการจัดการความปลอดภัย ทวงคืนบทบาทการเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการลงทุนแห่งภูมิภาค

“เราเชื่อมั่นว่าการจัดงานในครั้งนี้จะเกิดการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระหว่างผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ที่นำโซลูชันมาใช้ กับภาคประชาชนและชุมชนที่ถือเป็นผู้ใช้นวัตกรรม โซลูชัน” ศักดิ์ชัยกล่าว

งาน ‘Thailand Smart City Expo 2022’ จัดขึ้นเพื่อมุ่งเน้น 7 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ Smart Telecom, Smart Demotics, Smart Energy, Smart Industry and Retail, Smart Environment, Smart Mobility และ Smart Healthcare โดยมีผู้ร่วมแสดงสินค้าชั้นนำ เช่น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS, บริษัท โคเน่ จำกัด (มหาชน), บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท ซีนเนอร์ยี่ เทคโนโลยี จำกัด, บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท ดี.ที.ซี. เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท เอชไอพี โกลบอล จำกัด, บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ฟูจิ อิเลคทริค (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ล็อกซเล่ย์ อีโวลูชั่น เทคโนโลยี จำกัด ฯลฯ

นอกจากรวบรวมสินค้าและนวัตกรรม เทคโนโลยีมาจัดแสดงแล้ว ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น สัมมนาจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี 5G ครอบคลุมทุกด้านในการใช้ชีวิต การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ สร้างเครือข่าย แบ่งปันความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในหลายอุตสาหกรรม การจัดแสดงหุ่นยนต์อัจฉริยะ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับ Metaverse รวมถึงเทคโนโลยี AR และ 3D Interactive ผ่านแอปพลิเคชัน ‘Graffiti Mapper’ และการมอบรางวัล Smart City Solutions Awards 2022 โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ซึ่งเป็นรางวัลเพื่อเชิดชูเกียรติสำหรับผู้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อการบริการประชาชน

เรียนเชิญผู้ที่สนใจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเข้าชมงาน ‘Thailand Smart City Expo 2022’ ได้ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคมนี้ ณ ฮอลล์ 3-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ลงทะเบียนชมงานได้ที่ https://bit.ly/3M1DZ0z หรือดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ https://thailandsmartcityexpo.com/

เรื่องล่าสุด