Site icon บางแสน

TIPMSE-เครือข่ายรุกปฏิบัติการEPRภาคสมัครใจเก็บบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล

TIPMSE-เครือข่ายรุกปฏิบัติการEPRภาคสมัครใจเก็บบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล

TIPMSE-เครือข่ายรุกปฏิบัติการEPRภาคสมัครใจเก็บบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล

TIPMSE-เครือข่ายรุกปฏิบัติการEPRภาคสมัครใจเก็บบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล มุ่งยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต ครอบคลุมตลอดทั้งชีวิตวงจรผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงขั้นตอนหลังการบริโภค

นางชญานันท์ ภักดิจิตต์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ และสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หรือ TIPMSE เพื่อเริ่มดำเนินการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วนำมารีไซเคิลด้วยหลักการ EPR

โดยสอดคล้องกับทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งล่าสุดกระทรวงฯ ได้ร่วมกับภาคีทุกภาคส่วนพัฒนากฎหมาย EPR โดยคาดว่าจะสามารถประกาศบังคับใช้ได้ภายในปี 2570 เพื่อนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วเหล่านั้นกลับมาใช้ประโยชน์ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”
 

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ภาคเอกชนถือเป็นหน่วยงานสำคัญต่อการจัดการบรรจุภัณฑ์ตามหลัก EPR เพราะผู้ผลิต ต้นทางของวงจรบรรจุภัณฑ์ที่จะเป็นผู้กำหนดอนาคตของบรรจุภัณฑ์ด้วยการออกแบบให้สามารถรีไซเคิลได้และรับผิดชอบในการนำกลับมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โดยมีภาคส่วนอื่นๆ ทำหน้าที่สนับสนุน 

TIPMSE-เครือข่ายรุกปฏิบัติการEPRภาคสมัครใจเก็บบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล

ซึ่งทุกฝ่ายควรมีส่วนร่วมกันทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตน ที่ผ่านมา ส.อ.ท. มุ่งมั่นที่จะดำเนินการผ่าน TIPMSE ในโครงการ PackBack เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืน เพื่อให้ทุกภาคส่วนเห็นถึงความรับผิดชอบของภาคอุตสาหกรรมที่มีความตั้งใจที่จะประกอบธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมให้เกิดความยั่งยืนได้ 

นายโฆษิต สุขสิงห์ รองประธาน ส.อ.ท. ในฐานะประธาน TIPMSE กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 โครงการ PackBack เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยังยืนได้ขยายเครือข่ายขับเคลื่อน EPR เพื่อนำบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ โดยได้ร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ เอกชน ทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้รวบรวม โรงงานรีไซเคิล และพื้นที่นำร่อง จังหวัดชลบุรี เทศบาลเมืองแสนสุข เทศบาลเมืองบ้านบึงและเทศบาลตำบลเกาะสีชัง รวม 50 องค์กร ซึ่งปัจจุบันสามารถขยายความร่วมมือสู่ 100 องค์กร และได้เริ่มปฏิบัติการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ด้วยหลักการ EPR ภาคสมัครใจในปีนี้

นางสาวพรรรัตน์ เพชรภักดี รองผู้อำนวยการใหญ่และรักษาการผู้อำนวยการ TIPMSE กล่าวว่า EPR in action ในโครงการ PackBack เริ่มจากพื้นที่นำร่อง 3 เทศบาลในจังหวัดชลบุรีเพื่อสร้าง sandbox กระบวนการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว 5 ชนิดได้แก่ ขวดแก้ว กระป๋องอลูมิเนียม กระดาษ กล่องนม

และพลาสติกชนิดขวด PET, ขวด HDPE และซองบรรจุภัณฑ์แบบหลายชั้น เพื่อเรียนรู้ข้อจำกัด ปัญหาอุปสรรคในการดำเนิน EPR ในระดับปฏิบัติได้ รวมทั้งทำให้เราเห็นความสำคัญของการร่วมมือระหว่างเครือข่ายที่จะเชื่อมโยงสนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อขจัดอุปสรรคของการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมารีไซเคิลตามหลักการ EPR”

Exit mobile version