บางแสน ชลบุรี

39cabf2.jpg

สุกี้จินดา แจ้งเกิดจากพลังโซเชียลมีเดียสูตรต้นตำรับคนจีนยังทึ่ง

สุกี้จินดา ปั้นธุรกิจ 13 สาขา ภายใน 3 ปี ใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงประสบการณ์ ลูกค้าแห่รีวิวในโซเซียลมีเดีย อนาคตตั้งเป้าขยายสาขาทั้ง 77 จังหวัดทั่วไทย

โควิด-19 สร้างผลกระทบให้กับใครหลายคน คุณดา นพรดา วาวีเจริญสิน อายุ 34 ปี ซึ่งเธอเป็นมัคคุเทศน์นำเที่ยวของบริษัทฯเอกชนแห่งหนึ่ง คือหนึ่งในนั้น เธอได้รับผลจากโควิด-19 เพราะการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศถูกปิดตาย ตกงานรายได้หลักหายไป “การทำธุรกิจ” จึงเริ่มเข้ามาในความคิด ปรึกษาพี่สาวตกผลึกแล้วว่า ไม่ว่าจะยุคสมัยไหน เศรษฐกิจดีหรือแย่แค่ไหน คนก็ยังต้องซื้ออาหารทาน “ธุรกิจอาหาร” จึงเป็นคำตอบสุดท้าย

ปตท.ลุย Life Science หวังลดการพึ่งพากำไรจากธุรกิจพลังงาน

รู้จัก 10 ข้อ CHARLES & KEITH แบรนด์สิงคโปร์ที่ LVHM เคยซื้อหุ้นถึง 20 %

แต่ที่มาเป็นสุกี้จินดาเพราะด้วยความที่เป็นลูกครึ่งไทย-จีน เดินทางไปกลับประเทศจีนบ่อยๆ เห็นว่ายังไม่มีสุกี้หมาล่าในไทย จึงอยากทำธุรกิจในรูปแบบนี้ ประกอบกับเธอมีความชอบในการทำอาหารให้ครอบครัวทานอยู่เป็นประจำ โดยเธอมีพี่น้อง 8 คน โดยเธอเป็นคนที่ 6 จึงลองทำเมนูสุกี้หมาล่าแบบที่คิดสูตรเองให้พี่ๆน้องๆได้ลองชิม และเมื่อคนในครอบครัวบอกว่า อร่อย เธอจึงเชื่อว่า ถ้าเอาสูตรนี้มาขาย ลูกค้าน่าจะชอบ จึงเป็นที่มาในการก่อตั้งร้าน “สุกี้จินดา”ร่วมกับพี่สาว

มัคคุเทศน์ตกงานสู่เจ้าของสุกี้จินดาซุปหมาล่า

เมื่อเริ่มต้นทำร้านสาขาแรก ที่ ซอยประชาราษฏร์บำเพ็ญ 9-11 ย่านห้วยขวาง กทม. ช่วงเดือนตุลาคม 2563  ปรับสูตรและรูปแบบการบริการ โดยสังเกตจากพฤติกรรมของลูกค้า ทำให้ประมาณ 1 ปี รสชาติและสูตรต่างๆเริ่มนิ่ง ให้รสชาติกล่มกล่อมถูกปากลูกค้า

เสิร์ฟแบบเสียบไม้ วางตั้งบนสายพาน 60 เมนูแบบจุกๆ

รูปแบบการให้บริการลูกค้าก็ใช้วิธี “การเสิร์ฟแบบเสียบไม้ วางตั้งบนสายพาน” ให้ลูกค้าสามารถหยิบวัตถุดิบได้ตามความต้องการ ราคาเริ่มต้นของเมนูเสียบไม้และแบบถาดอยู่ที่ 5-50 บาท มีให้เลือกถึง 50-60 เมนู ส่วนน้ำซุปหม้อเดี่ยวราคา 49 บาท ส่วนน้ำจิ้มราคา 30 บาท เติมได้ไม่อั้น และวัตถุดิบส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศจีน แต่จำหน่วยด้วยราคาที่ย่อมเยาว์ ทำให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่าย โดยเฉลี่ยลูกค้าทานอยู่ที่ประมาณ 300 บาทต่อหัว

เจาะกลุ่มลูกค้า “วัยรุ่น” ชอบเล่นโซเซียลมีเดีย

เจ้าของร้านสุกี้หม่าสายพาน ให้ข้อมูลอีกว่า กลุ่มลูกค้าหลักของ สุกี้จินดา คือ นักศึกษา วัยรุ่น และวัยทำงาน อายุประมาณ 20-35 ปี ลูกค้าประจำสัดส่วน 60 % ส่วนอีก 40 % เป็นลูกค้าขาจร ส่วนลูกค้าอีกกลุ่มที่น่าจับตามอง คือ คนจีนที่ในประเทศไทย ซึ่งอาจจะต้องรอประเมินอีกครั้งว่าจะมีการเพิ่มสัดส่วนมากน้อยแค่เพียงใด หลังประเทศจีนเริ่มเปิดประเทศ ทำให้แม้ช่วงพีค ลูกค้า หลายรายจะรอคิวนานถึง 2-3 ชั่วโมง ก็เข้าใจ เพราะนอกจากอาหารจะรสชาติถูกปากแล้ว ที่นี่ยังให้ความสำคัญกับการตกแต่งร้านรวมถึงบรรยากาศในร้าน จะมีการเปิดเพลงภาษาจีนคลอสร้างบรรยากาศเหมือนลูกค้ากำลังนั่งทานหม้อไฟหมาล่าอยู่ที่ประเทศจีน

ใช้กลยุทธ์ตลาดเชิงประสบการณ์ (Experiential Marketing)

ในทางการตลาด ถือเป็น กลยุทธ์ตลาดเชิงประสบการณ์ (Experiential Marketing) ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ร้านสุกี้จินดาเป็นที่นิยมจนถึงทุกวันนี้ จากกระแสรีวีวในโซเซียลมีเดียของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ยูทูบเบอร์ บล็อกเกอร์ และรวมถึงลูกค้าทั่วไปที่ร่วมทำคลิปรีวิว โดยที่ทางร้านไม่เคยใช้งบการตลาดในการจ้างรีวิว

“ขอบคุณทุกคนที่มารีวิว ร้านเรา เราไม่เคยใช้งบทำการตลาดเลย ถ้าไม่มี สื่อมวลชน ยูทูปเบอร์ บล็อกเกอร์ และลูกค้ามาช่วยรีวิว ร้านคงไม่ได้เติบโตมาถึงขนาดนี้ แล้วทุกคนรีวิวให้ตามความรู้สึกจริง ขอบคุณมาก ขอบคุณจากใจจริงๆค่ะ”

คุณดา นพรดา วาวีเจริญสิน เจ้าของร้านสุกี้จินดา

ปั้น สุกี้จินดา กระจายสาขาทั่วกรุงเทพฯ  3 ปี 13 สาขา

ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาจาก ร้านสุกี้จินดา สามารถขยายธุรกิจได้ถึง 13 สาขา แบ่งออกเป็น เป็นเจ้าของธุรกิจเอง 4 สาขา ได้แก่ ประชาราษฎร์บำเพ็ญระหว่างซอย 9-11 ประชาราษฎร์บำเพ็ญซอย 5 ลาดพร้าววังหิน 26 นวลจันทร์ระหว่าง 36-38 และเร็วๆนี้เตรียมเปิดสาขา ลาดพร้าว 122 เป็นแห่งที่ 5 ส่วนอีก 9 สาขา ขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไซส์ ได้แก่ มหิดล บางใหญ่ ตลาดพระปิ่น 3 รังสิต คลอง 3 อุดมสุข TU dome  สนามบินน้ำจ.นนทบุรี บางแสน จ.ชลบุรี  หาดใหญ่ จ.สงขลา และ เชียงใหม่ นิมมานเหมินทร์ ซอย9  โดยทั้ง 13 สาขา มียอดขาย 6 หลักต่อสาขาในแต่ละเดือน

เล็งเพิ่มแฟรนไชส์ซีครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศ

สำหรับแฟรนไชส์ซีที่ได้รับสิทธิ์ไปแล้ว 9 สาขา เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้ที่สนใจทำธุรกิจ สุกี้จินดา และแจ้งความประสงค์มาตั้งแต่ช่วงแรกๆ ทางร้านจึงให้สิทธิพิเศษ ฟรี ค่าแฟรนไซส์ซี มีเพียงค่าลงทุนวัตถุดิบสินค้าและอุปกรณ์ มีค่าประกัน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันตามพื้นที่ตั้งแต่ราคา 1-3 ล้านกว่าบาทต่อแห่ง รองรับสูงสุด 80 ที่นั่ง โดยที่ คุณดา จะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกทำเลให้อย่างละเอียด ซึ่งในระยะนี้ประมาณ 3 เดือน จะขอประเมินผลและปรับระบบหลังบ้านของ 9 สาขานี้ให้สมบูรณ์ก่อน  จากนั้นจึงจะพิจารณาเปิดให้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ซีในล็อตถัดไป อนาคตตั้งเป้าขยายสาขาไปทุกจังหวัด จังหวัดละ 1 สาขา หรือ 77 จังหวัดทั่วประเทศ  

เรามาก่อน เราจะตามหลังเขาไม่ได้ 

แม้ว่า สุกี้จินดา เป็นเจ้าแรกๆของร้านอาหารประเภทสุกี้หม่าสายพานในประเทศไทย และไม่นานก็มีร้านอาหารประเภทนี้เกิดขึ้นเยอะมาก แต่ คุณดา ก็ไม่กังวลว่าจะได้รับผลกระทบ เพราะเธอบอกว่าไม่ว่าร้านจะเปิดใหม่กี่สาขา ลูกค้าก็ยังมานั่งรอคิว เธอเชื่อว่าสิ่งที่ทำให้เธอสามารถปั้นธุรกิจ สุกี้จินดา จนเดินทางมาถึงวันนี้ได้เพราะ สินค้าที่ดี ควบคุมคุณภาพสินค้า บริการลูกค้าอย่างประทับใจ และการไม่หยุดพัฒนา โดยถือคติที่ว่า “เรามาก่อน เราจะตามหลังเขาไม่ได้” คุณดา นพรดา วาวีเจริญสิน กล่าวทิ้งทาย

จากความสำเร็จของ “สุกี้จินดา” ผศ.ดร.บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วิเคราะห์กับทีมข่าวพีพีทีวี ว่า เป็นการใช้วิธีร้านอาหารกับวิธีการบริการที่เหนือความคาดหวัง (Service Beyond Expectation)

ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้อย่างน่าสนใจ จนทำให้กลายเป็นจุดเด่นของร้านสุกี้จินดา จากกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ

1.กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ “คนไทย” ที่ต้องการประสบการณ์ที่ตื่นเต้น (exciting) ซึ่งอาจจะเป็นประสบการณ์ที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน ด้วยการทานเมนูสุกี้หมาล่าสายพาน จากวัตถุดิบนำเข้าจากจีน ได้สัมผัสบรรยากาศร้านสุกี้หมาล่าที่มีตกแต่งแบบจีนแท้ๆ มีเพลงภาษาจีนคลอเป็นสร้างบรรยากาศตลอดการรับประทานอาหาร 

2. กลุ่มเป้าหมายรอง คือ “คนจีนในประเทศไทย” ซึ่งกลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ย่อย คือ

กลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยวไทย และ คนจีนที่ทำธุรกิจในประเทศไทย

คนจีนจำนวนมากอาศัยอยู่ในทำเลที่ตั้งของร้านแถวย่านห้วยขวาง – รัชดา อาจจะมีความรู้สึกโหยหาอดีต (Nostalgia) ทำให้การมาทานอาหารที่นี่ได้ให้ความรู้สึกถึงความอบอุ่นใจ สบายใจรู้สึกเติมเต็มความรู้สึกในอดีต

สอดคล้องกับ ที่ คุณดา เจ้าของร้านให้สัมภาษณ์กับผู้เขียนว่า สำหรับคนจีนในประเทศไทย ที่เคยมาทานอาหารที่นี่ รู้สึกประทับใจ เพราะรสชาติเหมือนกับสุกี้หมาล่าที่ได้ทานตอนอยู่ที่ประเทศจีน และประเมินว่าหลังจากประเทศจีนเปิดให้มีการเดินทางข้ามพรมแดนไทยได้ตั้งแต่ มกราคม 2566 ก็เชื่อว่าจะทำให้ทางร้านมีเริ่มลูกค้าคนจีนเพิ่มขึ้น

“คนจีนแท้ๆ เขามาทาน บอกว่า สุดยอด ไม่อยากเชื่อว่า มาทานร้านที่เมืองไทย จะได้กินรสชาติแบบจีนแท้ๆ และเขาก็กลับมาทานติดต่อกันหลายวัน ก่อนจะบินกลับไป ”

คุณดา นพรดา วาวีเจริญสิน เจ้าของร้านสุกี้จินดา

จากจุดแข็งการเป็นลูกครึ่งไทย-จีน ของคุณดา นพรดา วาวีเจริญสิน เจ้าของร้านสุกี้จินดา ทำให้เข้าใจวัฒนธรรมระหว่าง 2 ประเทศ ประกอบการดำเนินธุรกิจอย่างมีกลยุทธ์ และจดจ่อในทำงาน ทำให้หลังจากก่อตั้งภายใน 3 ปี  สุกี้จินดา สามารถประสบความสำเร็จ ขึ้นมาเป็นแบรนด์น้องใหม่ในตลาดสุกี้ชาบูที่น่าจับตามอง ท่ามกลางมูลค่าทางการตลาดกว่า 23,000 ล้านบาท และการแข่งขันสูงแต่ยังมีการเติบโตต่อเนื่องทุกๆ ปี และทิศทางความต้องการผู้บริโภคหลังโควิด-19 จะเน้นความคุ้มค่าเป็นหลัก

เรื่องล่าสุด