มาแล้ว! ปรากฏการณ์ ‘แพลงก์ตอนบลูม’ ทะเลบางแสน ชาเชียว ครั้งแรกในปี2567
กลับมาแล้วเป็นปรากฎการณ์ สร้างความฮืออีกครั้งในโลกออนไลน์ เมื่อพบว่าน้ำทะเลบางแสนกลายเป็นสีเขียว เป็นครั้งแรกของปี2567
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ เพจดัง “ชอบจัง บางแสน” ได้โพสต์ภาพน้ำเลบางแสนกลายเป็นสีเขียว พร้อมระบุข้อความ “ถ้าจะไม่เปรียบทะเล เป็น ชาเขียวมัทฉะ จะเปรียบเป็นน้ำอะไรดี ?
ทั้งนี้ยังระบุว่า หากมาบางแสนในวันที่ 25 ก.พ.เป็นต้นไป อาจจะเจอปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมได้ โดยน้ำทะเลจะมีสีเขียวเข้ม โดยเฉพาะในวันท้ายๆ ที่น้ำทะเลจะมีกลิ่นคาว โดยปรากฏการณ์ดังกล่าว เกิดจากการบลูมของแพลงก์ตอน “น็อคติลูกา ซินทัลลันส์” ที่มีสาหร่ายสีเขียวในตัวที่แบ่งตัวจนเต็มทะเลในช่วงเวลาหนึ่ง อาจกินระยะเวลา 3-7 วัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ แต่ในระยะหลังๆ โลกเปลี่ยนแปลงอย่างมากอาจมีธาตุอาหารที่เกิดจากกิจกรรมบนบกไหลลงสู่ทะเลจนทำให้เกิดบ่อยขึ้น
สาหร่ายชนิดนี้ ไม่เป็นอันตราย แต่จะมีช่วงแย่งออกซิเจนสัตว์น้ำจนทำให้เกิดการพร่องออกซิเจนจนสัตว์น้ำขาดอากาศได้ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเล่นน้ำได้ แต่เสื้อที่ใส่ลงไปเล่นอาจเปลี่ยนสี 555 ทางทีดี ไม่แนะนำให้ลงเล่นน้ำในช่วงนี้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- อ.ธรณ์ชี้ โลกร้อน ทำแพลงตอนบลูมเกิดบ่อย น้ำเขียวส่งผลกระทบสัตว์น้ำ-ระบบนิเวศ
-
‘แพลงตอนบลูม’ คัมแบ๊กพัทยา หาดวงอามาตย์ น้ำทะเลเขียวปี๋ ส่งกลิ่นเหม็นโชย
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่