Site icon บางแสน

ต่อยอด เมกะโปรเจกต์ EEC “เมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ” สู่ ศรีราชา..เมืองน่าอยู่ Wellness City ปี 66

smart-city-business.jpg

เมื่อพูดถึงโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC หลายคนมักนึกถึงการลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และโครงสร้างพื้นฐานหลัก รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (ระยะที่3) โครงการท่าเรือแหลมฉบัง (ระยะที่3) แต่จริงๆ แล้วยังมี เมกะโปรเจกต์ EEC อีกหลายโครงการที่กำลังเดินหน้าอยู่ในตอนนี้

หนึ่งในนั้น คือ โครงการเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ (Smart City) ซึ่งทางรัฐบาลได้ผลักดันต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
โดยนอกเหนือจาก เมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ ที่ภาครัฐกำหนดไว้ว่าอยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. 14,619 ไร่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ยังมี ต้นแบบเมืองน่าอยู่ Wellness City ซึ่งตั้งอยู่ใน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกฝ่ายและความตั้งใจของนายกเทศมนตรีคนปัจจุบันของเมืองศรีราชานั่นเอง

แชร์แนวคิด เมกะโปรเจกต์ EEC สร้าง “เมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ” 7 สมาร์ท 5 โซน

เมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ อยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. 14,619 ไร่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ห่างจากสนามบินอู่ตะเภา 15 กม. เป็นเมืองที่ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาเมือง และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

การใช้ประโยชน์พื้นที่ การพัฒนาระยะแรกประมาณ 5,000 ไร่ นอกจากจะมีพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยแล้ว ยังแบ่งออกไปอีก 5 โซน คือ
1. ศูนย์กลางการเงิน ประกอบด้วยหน่วยธุรกิจการเงินและตลาดทุน หน่วยสนับสนุนการลงทุน
2. สำนักงานภูมิภาค RHQ/ศูนย์ราชการ เช่น สำนักงานภูมิภาคของธุรกิจไทย ที่มีธุรกิจในอีอีซีและสถานที่ราชการที่สำคัญ
3. การแพทย์แม่นยำ การแพทย์เพื่ออนาคต เป็นที่ตั้งของธุรกิจโรงพยาบาลชั้นนำของโลก ธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย
4. การศึกษา วิจัยและพัฒนา เป็นพื้นที่สำหรับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสนับสนุนธุรกิจเฉพาะด้าน
5. การวิจัยพัฒนาเพื่อธุรกิจเฉพาะด้าน เช่น พลังงานสะอาด ธุรกิจ 5G กลุ่มโลจิสติกส์ วิทยาศาสตร์การกีฬา
ส่วนความอัจฉริยะ 7 ด้าน เป็นการพัฒนาเมืองภายใต้แนวคิดเมืองน่าอยู่ ทันสมัย ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข มีมิติที่สำคัญ 7 ด้านคือ
1. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) มุ่งเน้นปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และติดตามเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดการน้ำ การดูแลสภาพอากาศ
2. การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) จะเป็นเมืองที่มุ่งเน้นความสะดวก ปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง เน้นใช้งานยานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะ รถรางไฟฟ้าสาธารณะ
3. การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) มุ่งเน้นให้บริการที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิต เช่น การบริการด้านสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี การเฝ้าระวังภัยจากอาชญากรรม
4. พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) จะมุ่งเน้นพัฒนาพลเมืองให้มีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการดำรงชีวิต
5. พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเมือง หรือใช้พลังงานทางเลือกที่สะอาด เช่น เชื้อเพลิงชีวมวล ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
6. เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ สร้างให้เกิดความเชื่อมโยงและความร่วมมือทางธุรกิจ ประยุกต์ใช้นวัตกรรม ในการพัฒนาปรับเปลี่ยนธุรกิจ
7. การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) มุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน

จากการวางแนวทางดังที่กล่าวมา สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ทำการศึกษาเมืองอัจฉริยะจากกว่า 10 ประเทศ แล้วมาลงตัวด้วยการนำเอาความเป็นเมืองอัจฉริยะแบบประเทศเกาหลีใต้ ที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมทันสมัยมาใช้ เพื่อความคล่องตัวของประชาชนผู้อยู่อาศัย หรือการทำงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ขณะเดียวกันยังจะนำเอาความเป็นเมืองสวยงามน่าอยู่ของกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ที่เน้นความร่มรื่นจากพื้นที่สีเขียว มีรถรางไฟฟ้าวิ่งร่วมรถระบบล้อพาดผ่านหน้าบ้านและที่ทำงาน มาผสมผสานเป็นต้นแบบในการพัฒนาเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ ในพื้นที่ EEC ของไทย

ต่อยอดแนวคิดเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ สู่การสร้าง ศรีราชา เมืองน่าอยู่ Wellness City

เห็นได้ว่าจากแนวคิดที่วางไว้อย่างชัดเจนในการสร้าง “เมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ” 7 สมาร์ท 5 โซน ได้รับการส่งต่อสู่การวางแผนพัฒนา ยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาเมืองแต่ละถิ่นย่าน ให้มีการเชื่อมเมืองถึงเมืองอย่างมีคุณภาพ จากบางแสน​ บางพระ​ ศรีราชา ​บางละมุง​ พัทยา​ บางเสร่​ แสมสาร​ บ้านฉาง ตะพง​ และเพ ฯลฯ โดยเราจะได้เห็นเมืองเหล่านี้ได้รับการยกระดับเป็นเมืองคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง
โดยหนึ่งในเมืองที่มีความโดดเด่นและมีความพร้อม นั่นคือ ศรีราชา ที่จะเป็นเทศบาลเมืองขนาดเล็กซึ่งจะได้รับการยกระดับคุณภาพเมือง คุณภาพชีวิต เช่นกับการพัฒนาปรับสร้างคุณภาพของพัทยาในรูปของนีโอพัทยา โดยโปรเจกต์ที่กล่าวมานี้ได้เดินหน้ามาช่วงเวลาหนึ่งแล้ว
ความพร้อมของ ศรีราชา ที่ว่า มีตั้งแต่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของ ศรีราชา ที่โดดเด่นหลากหลายมิติ โดยเทศบาลเมืองศรีราชามีพื้นที่ราว 4​ ตารางกิโลเมตร อยู่บนบกราว 2 ตารางกิโลเมตร อีก 2 ตารางกิโลเมตรอยู่ในทะเล ปัจจุบันมีประชากรหลักราว 25,000 คน ประชากรแฝงอีกราวกว่า 20,000 คน
และแน่นอนว่าที่นี่มีชาวญี่ปุ่นใช้เป็นถิ่นพำนักในการทำงานในประเทศไทยอยู่เกือบ 7,000 คน​ ก่อนหน้าช่วงที่ยังไม่เกิดการระบาดของโควิดนั้น มีชาวญี่ปุ่นในศรีราชาอยู่ราว 2 หมื่นกว่าคน ปัจจุบันนี้ลดลง แต่กำลังจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามสถานการณ์การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ฉัตรชัย ทิมกระจ่าง หรือ “นายกปื๊ด” นายกเทศมนตรีเมืองศรีราชา
ฉัตรชัย ทิมกระจ่าง หรือ “นายกปื๊ด” นายกเทศมนตรีเมืองศรีราชา คือ หนึ่ง Key man คนสำคัญที่นำพา “ศรีราชา” ก้าวสู่ยุคใหม่ ท่ามกลางโจทย์ที่ท้าทายของการเชื่อมสังคมเมือง 2 วัฒนธรรมระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เข้าไว้ด้วยกันในศรีราชา ช่วยให้เศรษฐกิจศรีราชาเติบโตก้าวหน้ามาได้อย่างดี การเป็นเมืองที่อยู่อาศัย มีที่พักผ่อนหย่อนใจสวยงาม มีคุณภาพชีวิตที่ดี
โดยที่ผ่านมา นายกปื๊ด ได้ทำให้ศรีราชาได้รับรางวัลเมืองสะอาดน่าอยู่ระดับโลกมาแล้วตั้งแต่สมัยแรกที่เข้ามารับตำแหน่ง มาในสมัยที่ 2 ต้องบอกว่าศรีราชากำลังก้าวกระโดดไปข้างหน้าอย่างน่าติดตาม โดยอาศัยความเป็นเมืองชายทะเลเป็นจุดเด่นที่ทำให้สปอตไลต์ฉายส่องมาที่เมืองนี้มากขึ้น
ที่ผ่านมา อีอีซีจับมือกับนายกเทศมนตรีและคณะผู้บริหารเทศบาลปัจจุบัน เดินหน้าจัดภูมิทัศน์ของเมืองใหม่ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่เขตเกาะลอยและจะทยอยปรับทั้งเมืองไปจนถึงตลาดสด มีการวางผังการใช้ประโยชน์จากภูเขาด้านข้างที่ทำการเทศบาลเมือง พร้อมกับสร้างสะพานเดินในทะเล จัดปรับภูมิทัศน์ของที่อยู่อาศัยที่อยู่ 2 ข้างสะพานที่ยื่นลงทะเล ฯลฯ

ศรีราชาจะพัฒนาเป็นเมืองที่เรียกว่า ศรีราชาน่าอยู่…Wellness City มีการปรับพื้นฐานการจัดการเมือง ภูมิทัศน์ และยกระดับคุณภาพชีวิตไปในขณะเดียวกัน ผู้คนทุกกลุ่มในศรีราชาจะได้รับการดูแลด้านสวัสดิภาพสุขภาพที่ดี โดยการแพทย์สมัยใหม่
นอกจากนั้น ศรีราชา จะเป็นเมือง 2 วัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่นที่น่าอยู่ ที่มีทั้งตลาด ห้างสรรพสินค้าแบบญี่ปุ่น ร้านรวงแบบไทยๆ ไปจนถึงห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ 2 แห่ง และมีสถานศึกษาชั้นดีตั้งแต่ระดับประถม-มัธยม จนถึงมหาวิทยาลัย

และดังที่ได้เกริ่นมา ศรีราชา ในวันนี้จึงเป็นเมืองที่ผู้มาเยือนสัมผัสได้ถึงมนต์เสน่ห์ของเมือง 2 วัฒนธรรม เพราะนอกจากที่นี่จะมีคน 2 วัฒนธรรม ไทย-ญี่ปุ่น อาศัยอยู่ร่วมกันแล้ว สภาพภูมิศาสตร์มีทั้งทะเลจนถึงภูเขา คล้ายกับหลายเมืองในญี่ปุ่น ศรีราชาจึงเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองมิซาโอะ เกาะฮอนชู ก็ว่าได้ และที่นี่ยังมีเทศกาลวันญี่ปุ่นทุกปี แถมเดินไปไหนในศรีราชาวันนี้ จะสังเกตเห็นป้ายบอกทางเป็น 2 ภาษาไทย-ญี่ปุ่น แล้ว
และเมื่อรถไฟความเร็วสูงเสร็จในปี 2568 การเดินทางจากศรีราชาไปกรุงเทพฯ จะใช้เวลาเพียง 20 นาที เช่นเดียวกับจากศรีราชาถึงสนามบินอู่ตะเภา มหานครการบินแห่งใหม่ และแน่นอนว่าการพัฒนาทั้งหมดนี้เริ่มแล้วความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าของศรีราชาจะบรรลุสัมฤทธิผลในช่วงยุคของการบริหารนายกเทศมนตรีคนปัจจุบันนี้นี่เอง

ธีม Wellness city ที่นำไปสานต่อสร้างธุรกิจในศรีราชา

มาในวันนี้ เมื่อความเป็น Wellness city เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในเมืองศรีราชา ธีมของเมืองนี้จึงได้รับการต่อยอดไปสร้างสรรค์ธุรกิจในเมืองศรีราชาในหลากหลายมิติ เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ “Wellness Living Condo แห่งแรกในศรีราชา” โดย Origin Property ที่โดดเด่นด้วยโปรไฟล์คอนโด High Rise ใจกลาง EEC ด้านหลังพิงเขา ด้านหน้าวิวทะเล เดินทางสะดวก ติดถนนใหญ่ สุขุมวิท
  • Wellness Living ดูแลคุณตลอด 24 ชม. ผ่าน SOS Alarm เชื่อมต่อคุณกับ รพ.สมิติเวช ซึ่งพร้อมให้บริการตรงผ่านช่องทางพิเศษทันที
  • Wellness Facilities พื้นที่ส่วนกลางเพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีเยี่ยมของผู้พักอาศัย บนพื้นที่กว่า 5,000 ตร.ม. เพียบพร้อมด้วยสระว่ายน้ำถึง 2 สระ , Fitness , Golf Simulator , Golf Putting Green , Kids Room ฯลฯ
  • Wellness Care อุปกรณ์ดูแลความปลอดภัยเหนือมาตรฐาน พร้อมให้การดูแลตลอด 24 ชม. เพื่อให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
นอกจากนั้น ธุรกิจโรงพยาบาล อย่าง โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา ก็ได้เดินหน้านโยบายป้องกันสุขภาพเชิงรุกแก่ผู้คนในพื้นที่ ผู้ประกอบการและพื้นที่ใกล้เคียง โดยมั่นใจพร้อมรองรับการฟื้นตัวของพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของไทย
โดย นพ.อัษฎา ตียพันธ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา เปิดเผยว่า “ทางโรงพยาบาลมีความพร้อม เดินหน้าให้บริการดูแลสุขภาพ ทั้งการรักษาและการป้องกันเชิงรุกด้วยใจและความเชี่ยวชาญของทีมบุคคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้รับบริการทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดในภาคตะวันออกมีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งจะสร้างภาพลักษณ์ให้ศรีราชาเป็นเมือง Wellness city ได้อย่างชัดเจน”
ทั้งนี้ สมิติเวช ศรีราชาได้พัฒนาระบบ Telemedicine เพื่อให้คนไข้ได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ โดยไม่ต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาล เพิ่มความสะดวกด้านการดูแลสุขภาพให้แก่คนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก และพร้อมขยายบริการสู่กลุ่มผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลญี่ปุ่นอยู่ภายในโรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชาเพื่อรองรับชาวญี่ปุ่นที่มาทำงานในเขตภาคตะวันออก ด้วยคุณภาพและมาตรฐานสูงเทียบเท่าโรงพยาบาลชั้นนำในประเทศญี่ปุ่น ทำให้พี่น้องชาวญี่ปุ่นคลายความวิตกกังวลในเรื่องสุขภาพ
เพราะรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในรายได้หลักของ GDP ประเทศ และชลบุรีถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยในปี 64 ชลบุรีได้ตั้งเป้าสู่การเป็น Sport City และได้ดำเนินการจนเกิดเป็นรูปธรรมและมีการจัดโปรแกรมการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ทั้งระดับประเทศและระดับโลก ซึ่ง สมิติเวช ศรีราชา มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพให้กับผู้เข้าร่วมการแข่งขันโปรแกรมสำคัญด้วย

ที่มา :

  • รายงานข่าวเรื่อง “เดินหน้าพัฒนา 2 เมืองใหม่ใน EEC สร้างงานประชาชน เสริมรายได้ประเทศ” จากเว็บไซต์สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
  • บทความเรื่อง “EEC ร่วมสร้าง “ศรีราชา… เมืองน่าอยู่ Wellness City” จากเว็บไซต์ Salika.co/

อีอีซี กับความเป็นสมาร์ทซิตี้ในหลากหลายมิติ

ศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ เมกะโปรเจกต์ใหม่แกะกล่องของภาครัฐ มุ่งเป้าติด 1 ใน 10 สมาร์ทซิตี้โลก ปี 2580

ต่อยอด บ้านฉางสมาร์ทซิตี้ สู่โปรไฟล์ใหม่ ว่าที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ 5G แห่ง EEC

Post Views: 11

Exit mobile version